03 June 2011

ພາສາລາວ ໃນວັນນະຄະດີໄທຍ໌ ສະໄໝເປັນຊະເລີຍເສີກສຍາມ

-- ວານີ້ ພາລູກສິດຄົນໜຶ່ງ ເຂົາເປັນຝຣັ່ງເຊື້ອຊາດລາວ ເຂົາເກີດທີ່ເມືອງລາວ(ທ່າແຂກ) ຕອນອາຍຸ ໖ ປີ ປ້າຂອງເຂົາໄດ້ມາຂໍເອົາໄປລ້ຽງຢູ່ເມືອງ ຝຣັ່ງ ເຂົາໃຫຍ່ຢູ່ຝຣັ່ງ ຮຽນຢູ່ຝຣັ່ງ ເມື່ອເຂົາອາຍຸ ໒໔-໒໕ ປີເຂົາໄດ້ເຮັດວຽກແລ້ວ ກໍກັບມາຢາມບ້ານ ແຕ່ບັດນັ້ນມາຮອດບັດນີ້ ອາຍຸໄດ້ ໒໙ ປີ ເຂົາທຽວມາເມືອງລາວ ແລ້ວ ໑໕ ຫົນ, ເຂົາມັກເມືອງລາວ ປີນີ້ເຂົາມາແລ້ວ ໒ ຫົນ ຈະກັບເມືອວັນອາທິດນີ້ ເຂົາມາຫາຜູ້ຂຽນ ສົນທະນາກັນຫຼາຍເຣື່ອງ ຈຶ່ງຮູ້ວ່າເດັກນ້ອຍ ທີ່ເກີດ ຫຼືວ່າໃຫຍ່ຢູ່ຕ່າງປະເທດ ຕ່າງຈາກເດັກນ້ອຍທີ່ເກີດ ແລະໃຫຍ່ຢູ່ລາວ ແລະທີ່ສໍາຄັນຍັງເຫັນວ່າ ເດັກນ້ອຍທີ່ເກີດ ແລະໃຫຍ່ຢູ່ເມືອງຝຣັ່ງນັ້ນ ຈະມີແນວຄວາມຄິດ ຕ່າງຈາກເດັກນ້ອຍທີ່ເກີດ ແລະໃຫຍ່ຢູ່ອາເມຣຶກາ ເມື່ອສົມທຽບທາງແນວຄວາມຄິດ ແລະການກະທໍາ, ເຫັນວ່າເດັກນ້ອຍເກີດ ແລະໃຫຍ່ຢູ່ເມືອງຝຣັ່ງນັ້ນ ມີແນວຄິດອ່ອນໂຍນກວ່າຢູ່ອະເມຣິກາ ແຕ່ແຝງໄວ້ດ້ວຍພະລັງແຫ່ງແນວຄວາມຄິດສ້າງສັນ ໄຝ່ຮູ້ໄຝ່ ແບບພິນິດ ສາມາດປັບເຂົ້າກັບແນວຄວາມຄິດວັດທະນະທັມອື່ນໄວ, ສ່ວນເດັກນ້ອຍລາວເກີດ ຫຼືໃຫຍ່ຢູ່ອາເມຣິກາມັກເປັນຄົນກ້າວໜ້າ ເຊື່ອໝັ້ນຄົນເອງ, ສ່ວນເດັກນ້ອຍເກີດແລະໃຫຍ່ຢູ່ລາວເທົ່າທີ່ເຫັນ ມັກຈະເປັນຄົນບອກລອນສອນງ່າຍ ຈົງກຽມ ແລະຈະຄິດການຫຍັງ ກໍຕ້ອງຄ່ອຍເປັນຄ່ອຍໄປ ອັນນີ້ບໍ່ຮູ້ວ່າຖືກ ຫຼືຜິດກໍຄ່ອຍຄິດກັນໄປ ເມື່ອສົນທະນາກັບເຂົາ ເຂົາກໍໃຫ້ທັດສະນະເຊັ່ນນັ້ນ, ເມື່ອຍັງມີເວລາຫຼາຍ ກໍພາເຂົາໄປທ່ຽວພິພິດທະພັນແຫ່ງຊາດ ເພື່ອໃຫ້ເຂົາໄດ້ເຫັນວິວັດທະນາການປ່ຽນແປງ ແລະຄວາມຍາວນານຂອງຊາດລາວນັ້ນມັນມີຫຼັກຖານ ເປັນເຊັ່ນໃດ ?
- ນັບແຕ່ເລີ່ມຕົ້ນ ຄືນັບແຕ່ລາວດຶດດຳບັນ ຈົນຮອດຕົ້ນປະຫວັດສາດ ໄດ້ອະທິບາຍໃຫ້ເຂົາຟັງ ເມື່ອມາຮອດຍຸກປະຫວັດສາດ ເຂົາຖາມຈຶ່ງຕອບ ຈົນມາຮອດຍຸກ ວຽງຈັນລົ້ມສະຫຼາຍ ເຂົາກໍຖາມ ກໍຕອບ ຜູ້ຂຽນກໍມາຢຸດຢູ່ ທີ່ເຈັ້ຍຂາວແຜ່ນໜຶ່ງ ທີ່ຂຽນເນື້ອໃນບົດເພງລ່ວແພນ ເມື່ອອ່ານແລ້ວ ເຫັນສິ່ງຕ່າງໆໃນນັ້ນຫຼາຍເລື່ອງ ທັງປະຫວັດ ແລະພາສາ ເນື່ອໃນໆບົດເພງນັ້ນເຫັນວ່າມີຄວາມຕ່າງຈາກສອງບົດນ້ອນໜຶ່ງ ທີ່ອ້າງໄວ້ຂ້າງລຸ່ມນີ້:
- ຕໍ່ໄປນີ້ ຈະສົມທຽບເລື່ອງພາສາລາວໃນບົດເພງລ່ວແພນ ແລະຈະອະທິບາຍເລື່ອງພາສາລາວໃນບົດເພງ ກ່ອນທ່ານຈະໄດ້ອ່ານອະທິບາຍ ເລືອງພາ ໃຫ້ທ່ານອ່ານເນື້ອໃນບົດເພງທັງສອງແບບ ທີ່ໄດ້ຈາກເວບໄທຍ໌ນັ້ນກ່ອນ ທັງອ່ານບົດວິຈານເພງລາວແພນຂອງ ຈິຕ ພູມສັກ ທີ່ເອົາມາ ປະກອບໃນລຸ່ມນັ້ນໃຫ້ລະອຽດ ແລ້ວຈຶ່ງອ່ານບົດພິສູດ ພາສາລາວໃນວັນນະຄະດີໄທຍ໌ ສຶບໄປ.

- ພາສາລາວ(ໃນສະໄໝເກົ່າ)ຂຽນເປັນອັກສອນໄທຍ໌ ໃນເພງລາວແຄນ (ເດີມເປັນລາວແຄນ) ແລະປະຣິວັດເປັນລາວ ຂຽນແບບບູຮານ ດ້ວຍອັກສອນ ໒໘ ຕົວ.
----------------------------
ลาวแพน (ລາວແພນ)
คำร้อง-ทำนอง : เชลยชาวลาว ຄໍານ້ອງ-ທຳຍອງ : ຊະເລີຍລາວ.
ขับร้อง : เชลยชาวลาว ຂັບຮ້ອງ : ຊະເລີຍລາວ.

ฝ่ายพวกลาวเป่าแคนแสนเสนาะ ຝ່າຍພວກລາວ ເປົ່າແຄນແສນສເນາະ
มาสอเพาะเข้ากับแคนแสนขยัน ມາສໍເພາະເຂົ້າກັບແຄນແສນຂຍັນ
เป็นใจความยามยากจากเวียงจันทน์ ເປັນໃຈຄວາມຍາມຍາກຈາກວຽງຈັນທນ໌
ตกมาอยู่เขตขัณฑ์อยุธยา ຕົກມາຢູ່ເຂຕຂັນທ໌ອຍຸທຍາ
อีแม่คุณเอ๋ยข้อยบ่เคยตกยาก ອີແມ່ຄຸນເອີຍຂ້ອບໍ່ເຄີຍຕົກຍາກ
ตกระกำลำบากแสนยากนี่หนักหนา ຕົກຣະກຳລຳບາກແສນຍາກນີ້ໜັກໜາ
พลัดทั้งที่ดินถิ่นฐาน พลัดทั้งบ้านเมืองมา ພຼັດທັງທີ່ດິນຖິ່ນຖານ ພຼັດທັງບ້ານເມືອງມາ
พลัดทั้งปู่ทั้งย่า พลัดทั้งตาทั้งยาย ພຼັດທັງປູ່ທັງຍ່າ ພັຼດທັງຕາທັງຍາຍ
พลัดทั้งแม่ทั้งเมีย พลัดทั้งเสียลูกเต้า ພຼັດທັງແມ່ທັງເມັຍ ພຼັດທັງເສັຍລູກເຕົ້າ
พลัดทั้งพงศ์ทั้งเผ่า ทั้งลูกเต้าก็หนีหาย ພຼັດທັງພົງສ໌ທັງເຜົ່າ ທັງລູກເຕົ້າກໍໜີຫາຍ
บักไทยมันเฆี่ยน บักไทยมันขัง ບັກໄທຍ໌ທັນຄ້ຽນ ບັກໄທຍ໌ມັນຂັງ
จนไหล่หลังของข้อยนี่ลาย ຈົນໄຫຼ່ຫຼັງຂອງຂ້ອຍນີ້ລາຍ
จะตายเสียแล้วหนา ที่ในป่าดงแดน ຈະຕາຍເສັຍແລ້ວໜາ ທີ່ໃນປ່າດົງແດນ
ผ้าทอก็บ่มีนุ่ง ผ้าถุง(ສະບັບອື່ນຂຽນຖົງ)ก็บ่มีห่ม ຜ້າທໍກໍບໍ່ມີນຸ່ງ ຜ້າຖົງກໍບໍ່ມີຫົ່ມ
คาดแต่เตี่ยวเกลียวกลม หนาวลมนี่เหลือแสน ຄາດແຕ່ຕ່ຽວກຼຽວແຕ່ລົມ ໜາວລົມນີ້ເຫຼືອແສນ
ระเหินระหกตกยาก ต้องเป็นคนกากคนแกน ຣະເຫີນຣະຫົກຕົກຍາກ ຕ້ອງເປັນຄົນກາກຄົນແກນ
มีแต่แคนอันเดียว ก็พอได้เที่ยวขอทานเขากิน ມີແຕ່ແຄນອັນດຽວ ກໍພໍໄດ້ທ່ຽວຂໍທານເຂົາກິນ
ตกมาอยู่ในเมือง ต้องถีบกระเดื่องกระด้อย ຕົກມາຢູ່ໃນເມືອງ ຕ້ອງຖີບກະເດືອງກະດ້ອຍ
สีซ้อมต่ำต้อย ตะบิดตะบอยบ่ฮู้สิ้น ສີຊອມຕໍ່າຕ້ອຍ ຕະບິດຕະບອຍບໍ່ຮູ້ສິ້ນ
ถือแต่เคียวเกี่ยวหญ้า เอาไปให้ม้าของเพื่อนมันกิน ຖືແຕ່ຄ່ຽວກ່ຽວແຕ່ຫຍ້າ ເອົາໄປໃຫ້ມ້າຂອງເພື່ອນມັນກິນ
เที่ยวซมซมซานซาน ไปทุกบ้านทุกถิ่น ທ່ຽວຊົມຊົມຊານຊານ ໄປທຸກບ້ານທຸກຖິ່ນ
จะได้กินก็แต่เดน ຈະໄດ້ກິນກໍແຕ່ເດນ
แสนอึดแสนจนเหมือนอย่างคนตกนาฮก ແສນອຶດແສນຈົນເໝືອນຄົນຕົກນາຮົກ
มืดมนฝนตก เที่ยวหยกหยกถกเขมร ມືດມົນຝົນຕົກ ທ່ຽວຫຍົກຫຍົກຖົກເຂມຣ
ถือข้อส่องคบ ไปไล่จับกบทุ่งพระเมรุ ຖືຂໍ້ສ່ອງຄົບ ໄປໄລ່ກົບທຸ່ງພຣະເມຣຸ
เปื้อนเลนเปื้อนตม เหม็นขมเหม็นคาว ເປື້ອນເລນເປື້ອນຕົມ ເໝັນຂົມເໝັນຄາວ
จับทั้งอ่างท้องขึง จับทั้งอึ่งท้องเขียว ຈັບທັງອ່າງທ້ອງຂຶງ ຈັບທັງອື່ງທ້ອງຂຽວ
จับกบขาเหยียดเหยียด จับเขียดขายาวยาว ຈັບກົບຂາຢຽດຢຽດ ຈັບຂຽດຂາຍາວຍາວ
จับเอามาให้สิ้น มาต้มกินกับเหล้า ຈັບເອົາມາໃຫ້ສິ້ນ ມາຕົ້ມກິນກັບເຫຼົ້າ
มันเป็นกรรมของเรา ມັນເປັນກັມຂອງເຮົາ
เพราะเจ้าเวียงจันทน์ อ้ายเพื่อนเอย ฯ ເພາະເຈົ້າວຽງຈັນທນ໌ ອ້າຍເພື່ອນເອີຍ ຯ

ບົດເທິງນັ້ນ ເປັນບົດຂອງ ແວງ ພະລັງວັນ ເອົາມາລົງໃນເວບ ແຕ່ບາງສັບບັບຂອງ ຈິດພູມສັກ ທີ່ສິນລະປະ, ກຸງເທບ, ຊັຍວັດການພິມ, ໒໕໒໓ ຕີພິມ ແລະລົງໃນເວບ http://www.9dern.com/rsa/view.php?id=100 ເຫັນມີຄວາມຕ່າງຈາກບົດທີ່ເອົາມາລົງ ນັ້ນຫຼາຍຈຸດ ຫຼາຍສໍານວນຄໍາເວົ້າ

ຕົວຢ່າງ:
ฝ่ายพวกลาวเป่าแคนแสนเสนาะ ຝ່າຍພວກລາວ ເປົ່າແຄນແສນສເນາະ
มาสอเพาะเข้ากับแคนแสนขยัน ມາສໍເພາະເຂົ້າກັບແຄນແສນຂຍັນ
เป็นใจความยามยากจากเวียงจันทร์ ເປັນໃຈຄວາມຍາມຍາກຈາກວຽງຈັນທນ໌
ตกมาอยู่เขตขัณฑ์อยุธยา ຕົກມາຢູ່ເຂຕຂັນທ໌ອຍຸທຍາ
อีแม่คุณเอ๋ยเฮาบ่เคยจะตกยาก ອີແມ່ຄຸນເອີຍຂ້ອບໍ່ເຄີຍຕົກຍາກ
ตกระกำลำบากแสนยากนี้หนักหนา ຕົກຣະກຳລຳບາກແສນຍາກນີ້ໜັກໜາ
พลัดทั้งที่ดินถิ่นฐาน พลัดทั้งบ้านเมืองมา ພຼັດທັງທີ່ດິນຖິ່ນຖານ ພຼັດທັງບ້ານເມືອງມາ
พลัดทั้งปู้ พลัดทั้งย่า พลัดทั้งตา ทั้งยาย ພຼັດທັງປູ່ (ພຼັດ)ທັງຍ່າ ພັຼດທັງຕາ (ພຼັດ)ທັງຍາຍ
พลัดทั้งแม่ลูกเมีย พลัดทั้งเสียลูกเต้า ພຼັດທັງແມ່ທັງເມັຍ ພຼັດທັງເສັຍລູກເຕົ້າ
พลัดทั้งพงศ์ทั้งเผ่า ทั้งลูกเต้าก็หนีหาย ພຼັດທັງພົງສ໌ທັງເຜົ່າ ທັງລູກເຕົ້າກໍໜີຫາຍ
บักไทยมันเฆี่ยนบักไทยมันขัง ບັກໄທຍ໌ທັນຄ້ຽນ ບັກໄທຍ໌ມັນຂັງ
จนไหล่จนหลังของข่อยนี้ลาย ຈົນໄຫຼ່ຫຼັງຂອງຂ້ອຍນີ້ລາຍ
จะตายเสียแล้วหนาที่ในป่าดงแดน ຈະຕາຍເສັຍແລ້ວໜາ ທີ່ໃນປ່າດົງແດນ
ผ้าทอก็บ่มีนุ่งผ้าถุงก็บ่มีห่ม ຜ້າທໍກໍບໍ່ມີນຸ່ງ ຜ້າຖົງ(ຖຸງ)ກໍບໍ່ມີຫົ່ມ
คาดแต่เตี่ยวเกลียวกลม หนาวลมนี่เหลือแสน ຄາດແຕ່ຕ່ຽວກຼຽວກຼົມ ໜາວລົມນີ້ເຫຼືອແສນ
ระเหินระหกตกยากต้องเป็นคนกากคนแกน ຣະເຫີນຣະຫົກຕົກຍາກ ຕ້ອງເປັນຄົນກາກຄົນແກນ
มีแต่แคนคันเดียวก็พอได้เที่ยวขอทานเขากิน ມີແຕ່ແຄນອັນດຽວ ກໍພໍໄດ້ທ່ຽວຂໍທານເຂົາກິນ
ตกมาอยู่ในเมืองต้องถีบกระเดื่องกระด้อย ຕົກມາຢູ່ໃນເມືອງ ຕ້ອງຖີບກະເດືອງກະດ້ອຍ
สีซ้อมตำต้อยตะบิดตะบอยบ่ฮู้สิ้น ສີຊອມຕໍ່າຕ້ອຍ ຕະບິດຕະບອຍບໍ່ຮູ້ສິ້ນ
ถือแต่เคียวเกี่ยวหญ้าเอาไปให้ม้าของเพื่อนมันกิน ຖືແຕ່ຄ່ຽວກ່ຽວແຕ່ຫຍ້າ ເອົາໄປໃຫ້ມ້າຂອງເພື່ອນມັນກິນ
เที่ยวซมซานไปทุกบ้านทุกถิ่น ທ່ຽວຊົມຊານ ໄປທຸກບ້ານທຸກຖິ່ນ
จะได้กินก็แต่เดน ຈະໄດ້ກິນກໍແຕ່ເດນ
แสนอึด (อด) แสนจนเหมือนอย่างคนตกนาฮก (นรก) ແສນອຶດແສນຈົນເໝືອນ(ຢ່າງ)ຄົນຕົກນາຮົກ
มืดมนฝนตกเที่ยวหยกๆ ถกเขมร ມືດມົນຝົນຕົກ ທ່ຽວຫຍົກໆຖົກເຂມຣ
ถือข้องส่องคบจับกบทุ่งพระเมรุ ຖືຂ້ອງສ່ອງຄົບ ໄປໄລ່ກົບທຸ່ງພຣະເມຣຸ
เปื้อนเลนเปื้อนตมเหม็นขมเหม็นคาว ເປື້ອນເລນເປື້ອນຕົມ ເໝັນຂົມເໝັນຄາວ
จับทั้งอ่างท้องขึงจับทั้งอึ่งท้องเขียว ຈັບທັງອ່າງທ້ອງຂຶງ ຈັບທັງອື່ງທ້ອງຂຽວ
จับทั้งเปี้ยวทั้งปูจับทั้งหนูท้องขาว ຈັບທັງປ້ຽວທັງປູຈັບທັງໜູທ້ອງຂາວ
จับเอามาให้สิ้นมาต้มกินกับเหล้า ຈັບເອົາມາໃຫ້ສິ້ນ ມາຕົ້ມກິນກັບເຫຼົ້າ
เป็นกรรมของเรา (ມັນ)ເປັນກັມຂອງເຮົາ
เพราะอ้ายเจ้าเวียงจันทน์เพื่อนเอย ເພາະອ້າຍເຈົ້າວຽງຈັນເພື່ອນເອີຍ.

--------
ບົດວິຈານຂອງ ຈິດພູມສັກ ເລື່ອງ
ลาวแพน เพลงที่สะท้อนวิญญาณแห่งการต่อสู้ของประชาชน
--------

มีเพลงไทยสากลอยู่เพลงหนึ่ง ซึ่งสังเกตได้ว่าออกอากาศทางสถานีวิทยุต่างๆ บ่อยครั้งกว่าเพลงอื่นๆ หลายเพลง ถ้าหากเข้าใจไม่ผิด เพลงนี้ดูเหมือนจะเป็นเพลงใหม่ ชื่อของเพลงและชื่อผู้ประพันธ์เพลงนั้นได้พยายามเงี่ยหูฟังอยู่ แต่ทว่ายังไม่พบว่าได้มีการประกาศเป็นกิจจะลักษณะจึงน่าเสียดายที่ไม่สามารถบันทึกมาเสนอได้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ได้พยายามจดจำเนื้อเพลงไว้ได้ตอนหนึ่ง เนื้อในตอนท้ายของเพลงนั้นมีอยู่ว่า “ชื่นๆ ใจมีน้องมาเชยมาชม อย่ามาดอมมาดมชมน้องดังนวลมาลี” (ถ้าหากจะมีถ้อยคำผิดพลาดก็ขออภัยท่านผู้ประพันธ์เพลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย)

เพลงนี้ เท่าที่ฟังและจำได้ เข้าใจว่าได้ดัดแปลงมาจากเพลงลาวแพน อันเป็นเพลงไทยเดิมลือชื่อเพลงหนึ่ง ผู้ที่สนใจฟังเพลงไทยเดิมอยู่บ้างคงจะไม่มีใครลืมเพลงลาวแพนนี้เสียได้ เพราะในกระบวนเพลงที่เดี่ยวอวดฝีมือแล้ว ลาวแพนเป็นเพลงเอกเพลงหนึ่งที่นิยม เดี่ยวกันทั้งโดยทางปี่, ทางระนาดเอก, ทางฆ้อง, ทางขิม, ทางจะเข้, และอื่นๆ ที่ได้ยินบรรเลงกันบ่อยที่สุดในยุคนี้ก็คือเดี่ยวลาวแพนทางขิมและทางจะเข้

เพลงลาวแพนนั้น เป็นเสมือนสำรวมใหญ่ของเพลงลาวพื้นเมือง กล่าวคือมีเพลงลาวพื้นบ้านตามชนบทรวมอยู่ในเพลงใหญ่นั้นหลายเพลง ทุกเพลงที่นำมารวมเข้าไว้นั้น ต่างมีกลิ่นไอของชีวิตแบบลาวอยู่อย่างสมบูรณ์ คือ มีลักษณะทำนองที่ส่อให้เห็นความรักในธรรมชาติเจือระคนอยู่ด้วย ถ้าจะพูดเป็นศัพท์ก็ต้องว่ามีลักษณะแห่งชนชาติ บรรจุอยู่อย่างเด่นชัดบริบูรณ์


คณะหมอลำแคนในสมัยรัชกาลที่ 4
ในการฟังเพลงลาวแพนที่บรรเลงกันในปัจจุบันนี้ ความรู้สึกที่ผู้ฟังได้รับคือ ความระรื่น, ร่าเริง, อ่อนหวาน, บรรยากาศของเพลงดูคล้ายกับจะแสดงให้เห็นชีวิตของประชาชนลาวที่รื่นเริงอยู่ ท่ามกลางธรรมชาติงามชื่นสดใส ความพริ้วไหวของท่วงทำนองที่อ่อนหวาน ทำให้ดูเหมือนว่า เพลงนี้จะทำการสะท้อนถ่ายความอ่อนหวานที่ประชาชนลาวได้รับจากธรรมชาติมาเสนอ ผู้ฟัง ในบางครั้งการหลบเสียงและเปลี่ยนระดับเสียงของเพลง ทำให้ดูเหมือนการฉอเลาะเร้าวอนและรำพึงออดอ้อนระหว่างหนุ่มสาวพื้นบ้านที่ เอียงอาย และบางครั้งก็แสดงถึงความน้อยเนื้อต่ำใจของฝ่ายชายที่เฝ้าวิงวอน หรืออะไรทำนองนั้น

ความรู้สึกดังกล่าวนี้เอง ที่ได้เป็นเครื่องบันดาลใจให้ผู้ประพันธ์เพลงแห่งยุคปัจจุบันนำเพลงลาวแพนมา ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นเพลงในจังหวะสากล ถ้าเราจะพิจารณากันในด้านรูปแบบ หรืออีกนัยหนึ่งท่วงทำนองของเพลงที่ดัดแปลงมาประพันธ์ใหม่ ก็จะต้องยอมยกย่องผู้ประพันธ์ว่าดัดแปลงได้นิ่มนวล และรักษาท่วงทำนองหรือลีลาของเพลงลาวแพนเดิม ไว้ได้อย่างงดงาม คือยังรักษาลักษณะแห่งชนชาติของเพลงไว้ได้แม้จะไม่สมบูรณ์นักก็เรียกได้ว่า เกือบสมบูรณ์ แต่ถ้าพิจารณาในด้านเนื้อหาของเพลงก็อาจจะรู้สึกว่า ผู้ประพันธ์ตัดเอาความรู้สึกทางด้านความรักธรรมชาติออกไปเสียเกือบหมด สื่งที่เหลืออยู่เป็นชิ้นเป็นอันในเพลงที่ประพันธ์ใหม่ดัดแปลงใหม่ก็คือ ลักษณะฉอเลาะและเร้าวอนระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว แต่ถึงกระนั้นแล้วก็ดีลักษณะที่ฉอเลาะเร้าวอนที่เหลืออยู่ก็ถูกดัดไปจากรูป แบบเดิมเสียเกือบสิ้นเชิง นั่นคือแทนที่จะเป็นการแสดงการฉอเลาะเร้าวอนแบบชาวบ้านๆ ดังที่เพลงลาวแพนเดิมแสดงออก มันกลับกลายมาเป็นการแสดงความกระเง้ากระงอดแง่งอนแบบชนชั้นกลางเสียฉิบ เป็นอันว่าถ้าจะมีข้อเสีย มันก็เสียอยู่ตรงที่ผู้ประพันธ์ได้ดึงเอาเพลงที่รับใช้ชีวิตของประชาชนพื้น บ้านอย่างง่ายๆ มาเป็นเพลงที่รับใช้รูปแบบชีวิตของชนชั้นกลางแห่งยุคเสียอย่างน่าเสียดาย !

เท่าที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นการกล่าวโดยการเปรียบเทียบเพลงลาวแพนที่ดัดแปลงใหม่เข้ากับเพลงลาวแพนเดิมตามลีลาที่บรรเลงกันอยู่อย่างอ่อนหวานในปัจจุบัน

เพลงลาวแพนนี้ ถ้าหากจะกล่าวกันถึงลักษณะดั้งเดิมของมันทีเดียวแล้ว มันมิำได้มีลักษณะอ่อนหวานเร้าวอนดังที่บรรเลงกันอยู่ในปัจจุบันนี้เลย ลักษณะเพลงลาวแพนดั้ง เดิม เป็นเพลงที่สะท้อนถ่ายความเคียดแค้น, ความเร่าร้อน, ความทุกข์ทนและทุกข์ระทม, ความปวดร้าว ในบางตอนก็มีลักษณะฮึดสู้ มีลักษณะโกรธแค้น บางครั้งก็มีลักษณะอ่อนโยน ซึ่งหมายถึงการดับอารมณ์เคียดแค้นให้สงบลง และมีการบรรเลงในทางอ่อนหวานอยู่บ้างซึ่งเป็นความหมา่ยของการปลอบใจผู้ที่ ทุกข์ยากคั่งแค้น

ลักษณะของเพลงลาวแพนเดิมที่มีดังกล่าวนั้นก็เนื่องมาจากมันเป็นเพลงของพวกเชลยลาวที่ถูกจับกวาดต้อนลงมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อคราวศึกเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์เวียงจันทร์ในสมัยรัชกาลที่สาม พวกเชลยลาวเหล่านี้คือพวกประชาชนที่เจ้าอนุวงศ์เกณฑ์ลงมาโจมตีกรุงเทพฯ เพื่อปลดแอกเวียงจันทร์จากไทย แต่เมื่อยกมาถึงเพียงนครราชสีมาก็ถูกต้านตีจนแตกยับเยิน เชลยลาวที่ถูกจับได้ถูกกวาดต้อนลงมาในกรุงเทพฯ พวกเจ้าขุนมูลนายฝ่ายศักดินาไทยกระทำการทารุณเอาตามอำเภอใจ พวกเชลยเหล่านั้นได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส แต่เนื่องด้วยพวกเชลยลาวปราศจากการนำอันเข้มแข็ง ปราศจากการจัดตั้งอันมีระเบียบ การที่จะลุกฮือขึ้นต่อสู้จึงกลายเป็นเรื่องในฝัน เป็นเรื่องท้อแท้ เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ ทางออกของเขาก็คือระบายความเคียดแค้น ความเร่าร้อน ความปวดร้าว และทุกข์ยากออกมาเป็นบทเพลง เพลงบทนั้นก็คือเพลงลาวแพน ถ้าหากจะพิจารณาดูเนื้อร้องของเพลงลาวแพนเดิม ก็จะได้พบเนื้อร้องที่สะท้อนถ่ายความรู้สึกของเชลยลาวไว้อย่างสมบูรณ์ตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนี้ :

ฝ่ายพวกลาวเป่าแคนแสนเสนาะ มาสอเพาะเข้ากับแคนแสนขยัน เป็นใจความยามยากจากเวียงจันทร์ ตกมาอยู่เขตขัณฑ์อยุธยา อีแม่คุณเอ๋ยเฮาบ่เคยจะตกยาก ตกระกำลำบากแสนยากนี้หนักหนา พลัดทั้งที่ดินถิ่นฐาน พลัดทั้งบ้านเมืองมา พลัดทั้งปู้ พลัดทั้งย่า พลัดทั้งตา ทั้งยาย พลัดทั้งแม่ลูกเมีย พลัดทั้งเสียลูกเต้า พลัดทั้งพงศ์ทั้งเผ่า ทั้งลูกเต้าก็หนีหาย บักไทยมันเฆี่ยนบักไทยมันขังจนไหล่จนหลังของข่อยนี้ลาย จะตายเสียแล้วหนาที่ในป่าดงแดน ผ้าทอก็บ่มีนุ่งผ้าถุงก็บ่มีห่ม คาดแต่เตี่ยวเกลียวกลม หนาวลมนี่เหลือแสน ระเหินระหกตกยากต้องเป็นคนกากคนแกน มีแต่แคนคันเดียวก็พอได้เที่ยวขอทานเขากิน ตกมาอยู่ในเมืองต้องถีบกระเดื่องกระด้อย สีซ้อมตำต้อยตะบิดตะบอยบ่ฮู้สิ้น ถือแต่เคียวเกี่ยวหญ้าเอาไปให้ม้าของเพื่อนมันกิน เที่ยวซมซานไปทุกบ้านทุกถิ่นจะได้กินก็แต่เดน แสนอึด (อด) แสนจนเหมือนอย่างคนตกนาฮก (นรก) มืดมนฝนตกเที่ยวหยกๆ ถกเขมร ถือข้องส่องคบจับกบทุ่งพระเมรุ เปื้อนเลนเปื้อนตมเหม็นขมเหม็นคาว จับทั้งอ่างท้องขึงจับทั้งอึ่งท้องเขียว จับทั้งเปี้ยวทั้งปูจับทั้งหนูท้องขาว จับเอามาให้สิ้นมาต้มกินกับเหล้า เป็นกรรมของเรา เพราะอ้ายเจ้าเวียงจันทน์เพื่อนเอย

ข้อ ความของเพลงในตอนต้นทั้งหมดได้แสดงถึงความเคียดแค้นและความทุกข์ยากของเชลย ลาวได้อย่างแจ่มชัดและตรงไปตรงมา ถ้าหากจะหวนนึกไปถึงการบรรเลงเพลงลาวแพนด้วยจะเข้ ซึ่งมีการกระแทกจังหวะโดยการดีดสายทบพร้อมกันทั้งสามสายดังกระหึ่ม เราก็จะมองเห็นอารมณ์อันฮึดฮัดเคียดแค้นของผู้ประสบความทุกข์ยากและถูกกดขี่ ได้อย่างดี ลีลาของลาวแพนบางตอนที่อ่อนพริ้วโหยหวล และมีการกลบเสียงเปลี่ยนระดับเสียงได้แสดงให้เห็นความปวดร้าวในดวงใจของผู้ ถูกกดขี่ได้อย่างสมบูรณ์

สิ่งที่น่าสังเกตในเพลงนี้ก็คือ ในตอนสุดท้ายที่พวกเชลยยึดเอาการด่าเจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นทางออกลักษณะป้าย โทษเช่นนี้ เป็นลักษณะของแนวศักดินาที่ไม่ยอมนำตนเองเข้าเผชิญหน้ากับสภาพความจริง ความทุกข์ยากของเชลยลาวมาจากการทรมานของศักดินาไทย มิได้มาจากเจ้าอนุวงศ์ ตรงข้ามเจ้าอนุวงศ์เสียอีกที่ได้กระทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ นั่นคือได้ต่อสู้เพื่อปลดแอกประชาชนลาวจากการกดขี่ของศักดินาไทย แต่ปราศจากการนำอย่างหนึ่ง และการต่อสู้ของเจ้าอนุวงศ์มิได้กระทำโดยระดมปลุกประชาชนให้ตื่นตัวอย่าง หนึ่ง ทำให้ประชาชนลาวมองไม่เห็นว่าใครคือมิตร ใครคือศัตรู การวิเคราะห์ปัญหาจึงได้ไขว้เขวไปลงเอยที่เจ้าอนุวงศ์ ว่าเป็นผู้สร้างกรรมทำเข็ญให้พวกตน แต่ถึงกระนั้นก็ดี ความรู้สึกเช่นนี้ก็มีส่วนจริงอยู่บ้าง ตรงที่เจ้าอนุวงศ์เองทำการต่อสู้ก็เพื่อสถาปนาตนเองเป็นศักดินาใหญ่แทน ศักดินาไทยเป็นจุดหมายสำคัญ มิได้มีความประสงค์ที่จะปลดเปลื้องทุกข์ของประชาชนแต่อย่างใด

เท่าที่พิจารณามาแล้ว เราจะเห็นได้ว่าเพลงลาวแพนแต่ ดั้งเดิม เป็นเพลงที่สะท้อนถ่ายวิญญาณแห่งการต่อสู้ของประชาชนลาว ซึ่งแม้จะไขว้เขวอยู่บ้างก็ยังอยู่ในขั้นที่ดีกว่าเพลงต่างๆ อีกหลายเพลง ที่มิได้สะท้อนถ่ายวิญญาณเช่นนี้เลยแม้แต่น้อย

สาเหตุที่เพลงลาวแพน จะกลายมาเป็นเพลงอ่อนหวาน เพลงร่าเริง เพลงรักนั้น ดูเหมือนจะอยู่ที่นักดนตรีไทยของศักดินาที่ได้บิดเบือนเอาเพลงนี้มาเน้นหนัก ตรงช่วงอ่อนหวาน แล้วบรรเลงเสียด้วยลีลาใหม่ตามความนิยมของตน ซึ่งมองไม่เห็นพลังแห่งการต่อสู้ของประชาชนในทางการเมือง ด้วยเหตุนี้เพลงลาวแพนจึงได้ถูกแปรโฉม จากเพลงของประชาชนมาเป็นเพลงของศักดินาและจนกระทั่ง กลายมาเป็นเพลงกระเง้ากระงอด ของชนชั้นกลางในที่สุด
---------
ที่มา : ชีวิตและศิลปะ. กรุงเทพฯ : ชัยวัฒนาการพิมพ์, 2523.

No comments:

Post a Comment