11 June 2008

ราชการสงครามลาวสมัยพระจ้ากรุงธนบุรี(ก็อปมาให้อ่าน)

ราชการสงครามลาวสมัยพระจ้ากรุงธนบุรี
Posted by สมคิด_สิงสง , ผู้อ่าน : 104 , 08:29:36 น.
พิมพ์หน้านี้


7. ราชการสงครามลาวสมัยพระจ้ากรุงธนบุรี

ถ้าจะพูดในเรื่องสายสัมพันธ์ของคนสองฝั่งแม่น้ำโขง ที่ใกล้ชิดแทบจะแยกกัน ไม่ออกเห็นจะเป็นลาวกับไทยนี่แหละ ไม่ว่าจะในยุคสมัยใด อย่างเช่นในยุคสมัยที่ไทย สยาม ปกครองแผ่นดินลาวในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ลาวเวลานั้นแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร คืออาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก

มหาสิลา วีระวงส์ บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติลาวตั้งแต่โบราณฯ โดยเริ่มจาก เรื่องราวของอาณาจักรเวียงจันทน์ว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าสุริยวงสาธรรมิกราชสวรรคตแล้ว ไม่มีราชโอรสจะสืบแทนเมือง มีแต่พระราชนัดดา 2 องค์น้อยๆ คือเจ้ากิ่งกีสกุมาร และเจ้า อินทะโสม เวลานั้นพระยาเมืองจันซึ่งเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ได้ชิงเอาราชสมบัติขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินในปี ..1690 (..2233) พระยาเมืองจันจะรับเอาเจ้านางสุมังคลา พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าสุริยวงสาธรรมิกราชเป็นภริยาของตน เจ้านางสุมังคลานั้นเป็นแม่หม้าย มีราชบุตรอยู่องค์หนึ่ง ชื่อว่า เจ้าองค์หล่อ และเวลานั้นก็กำลังทรงครรภ์อยู่อีก เหตุ นั้นนางจึงไม่ยอมเป็นภริยาของพระยาเมืองจัน

พระยาเมืองจันมีความเคียดแค้นจึงคิดกำจัดเจ้าองค์หล่อและเจ้านางสุมังคลา เสนาอำมาตย์หมู่หนึ่งที่เป็นฝ่ายของเจ้าองค์หล่อจึงลักเอาเจ้าองค์หล่อ หนีไปอยู่เมืองภูชุม (เมืองพานพูชมอยู่ในเขต .บ้านผือ .อุดรธานี) ส่วนเจ้านางสุมังคลาได้หนีไปพึ่งพระครู ยอดแก้ววัดโพนสะเม็ก ในเดือน 3 แรม 6 ค่ำ ปีนั้นเอง..”

พระครูยอดแก้วเป็นผู้ที่มีคนเคารพนับถือมาก พระยาเมืองจันจึงคิดจะกำจัดให้ สิ้นเสี้ยนหนาม แต่พระครูรู้ตัวก่อน จึงพาญาติโยมกว่าสามพันคน พร้อมด้วยเจ้านางสุมังคลา ล่องลงไปตามลำน้ำโขง ถึงบ้านงิ้วพันลำสมสนุกก็พาญาติโยมหยุดพักที่นั่น ส่วน เจ้านางสุมังคลาไปหลบซ่อนอยู่ที่ภูสะง้อหอคำ และประสูตรพระโอรสทรงพระนามว่าเจ้า หน่อกษัตริย์

สถานการณ์ในเวียงจันทน์ หลังพระยาเมืองจันครองราชย์ได้ 6 เดือน ก็ถูกพรรค พวกเจ้าองค์หล่อยกทัพมาตี และสังหารพระยาเมืองจัน ยกเจ้าองค์หล่อขึ้นเป็นกษัตริย์ หลังจากนั้นมีการยึดอำนาจและฆ่าฟันกันในราชสำนักเวียงจันทน์ โดยพระเจ้าองค์หล่อ หลังจากครองราชย์ได้ 4 ปีก็ถูกเจ้านันทะราชยึดอำนาจและประหารชีวิต ต่อมาพระไชองค์เว้ (โอรสเจ้าชมพู) ที่อยู่เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ก็นำกำลังเข้ายึดเวียงจันทน์ สังหารเจ้านันทะราช และขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าพระไชยเชษฐาธิราชที่ 2

จนถึงยุคสมัยพระเจ้าองค์บุญ โอรสพระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ซึ่งเจ้าพระวอระพิตา เมืองหนองบัวลุ่มภูสนับสนุนจนได้ขึ้นครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าสิริบุญสาร (พระมหาบุญเชษฐาธิราช) ซึ่งมีเหตุวุ่นวายหลายครั้งหลายหน จนต้อง เสียเอกราชให้กับพระเจ้ากรุงธนบุรีดังที่กล่าวมาแล้ว

เรื่องราวในรัชสมัยพระเจ้าสิริบุญสารแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์นี้ มหาสิลา วีระวงส์ ก็ยอมรับว่ามีความสับสนในรายละเอียด แต่เมื่อดูประวัติศาสตร์ลาวแต่ โบราณฯ ก็พอจับความได้ว่า...

ต้นเหตุที่พระเจ้าตากสิน พระเจ้าแผ่นดินสยามที่กรุงธนบุรีได้ให้พระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพมาตีพระนครเวียงจันทน์ในปี ..1778 (..2321) นั้น ก็เนื่องจากว่า พระเจ้าสิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์ไม่ได้ปลงใจร่วมมือกับไทยไปปราบพม่า ทั้งเจ้าสุริยวงศ์แห่งหลวงพระบางก็ฟ้องต่อไทยว่าพระเจ้าสิริบุญสารเป็นใจกับพม่าด้วย ดั่งนั้นพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรีจึงมีความเคียดแค้นพระเจ้าสิริบุญสารเป็นอันมาก

พอได้โอกาสที่ท้าวก่ำเข้าไปทูลเหตุการณ์ว่าพระเจ้าสิริบุญสารให้กองทัพลงไปทำร้ายบิดาของตนจนถึงแก่ความตาย และบิดาของตน (คือพระวอระปิตา) ได้ขอเข้าไปอยู่ใต้ร่มเงาของพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินจึงแต่งให้พระยามหากษัตริย์ศึก (ภายหลังมาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์ที่ 1 ของราชวงศ์จักรีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน) เป็นแม่ทัพใหญ่ยกพลมาทางบก สมทบกับกำลังพลหัวเมืองฝ่ายตะวันออก มีพล 20,000 คนเศษ และแต่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (น้องชายพระยามหากษัตริย์ศึก) ยกทัพ เรือมาทางเขมร เกณฑ์พลเขมรได้ 10,000 คน ต่อเรือรบยกพลขึ้นมาตามรูแม่น้ำโขงใน ปี ..1778 (..2321) ส่วนกองทัพของพระยามหากษัตริย์ศึกยกมาทางนครราชสีมา ผ่านมาทางเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ มาสมทบกับกองทัพเรือที่เมืองจำปาสัก กองทัพไทยทั้งสองก็เข้ายึดเอาเมืองจำปาสักได้อย่างง่ายดาย เจ้าไชยกุมารเจ้านครจำปาสักไม่ต่อสู้ ได้หนีไปซ่อนอยู่ดอนไชย แม่ทัพไทยให้ทหารไปจับมา เจ้าไชยกุมารก็ยอมเป็นเมืองขึ้น ของไทยแต่นั้นมา

ฝ่ายพระยาสุโพแม่ทัพของฝ่ายเวียงจันทน์ที่ลงไปกำจัดพระวอระปิตาซึ่งตั้งอยู่ บ้านดอนมดแดง แขวงจำปาสักนั้น ครั้นได้ทราบว่ากองทัพไทยยกมาเป็นอันมากเห็นจะสู้ไม่ได้ จึงถอยทัพกลับคืนเวียงจันทน์ กราบทูลพระเจ้าสิริบุญสารให้ทราบทุกประการ พระเจ้าสิริบุญสารจึงจัดแจงป้องกันพระนคร และจัดกองทัพออกไปตั้งรับกองทัพไทย อยู่เมืองพันพร้าว เมืองพะโค เวียงคุก เมืองหนองคาย จนถึงเมืองนครพนม

กองทัพไทยเข้าตีเมืองนครพนมแตก พระบรมราชา (กู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม ยกครอบครัวไปตั้งค่ายอยู่บ้านดอนหมู ได้ 5 คืนก็เลยถึงแก่กรรมที่นั่น แล้วกองทัพไทยก็ ยกพลขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย เข้าตีเอาเมืองหนองคายได้ เมื่อได้เมืองหนองคายแล้วก็ยกพลมาตั้งล้อมเมืองพะโคและเวียงคุกไว้ พวกชาวเมืองพะโคและเวียงคุกได้ต่อสู้และป้องกันเมืองไว้อย่างแข็งแรง กองทัพไทยเข้าตีเอาเมืองไม่ได้ แม่ทัพไทยจึงทำกลอุบายให้ทหารจับเอาราษฎรเมืองหนองคายเป็นอันมากมาตัดคอเอาแต่หัวใส่เรือไปเต็ม แล้วให้แม่หญิงเมืองหนองคายพายขึ้นมาร้องขายหัวคนอยู่ตามเลียบท่าเมืองพะโคและเวียงคุก พวกชาว เมืองเห็นดั่งนั้นก็มีใจสั่นสะท้านหวาดกลัวเป็นอันมาก กองทัพไทยจึงเข้าตีเอาเมืองพะโค และเวียงคุกได้ แล้วก็เลยขึ้นมาตั้งล้อมเมืองพันพร้าวไว้ กองทหารเมืองพันพร้าวได้ทำการ ต่อสู้อย่างแข็งแรง กองทัพไทยไม่สามารถตีเอาเมืองได้ เป็นแต่ตั้งล้อมไว้จนถึงปี ..1779

เวลานั้น ฝ่ายเจ้าสุริยวงศ์แห่งนครหลวงพระบาง ได้ทราบว่ากองทัพไทยขึ้นมาตี เวียงจันทน์ก็ดีใจ เพราะเจ้าสุริยวงศ์มีความเคียดแค้นให้พระเจ้าสิริบุญสารว่านำเอาพม่ามาตีนครหลวงพระบาง เจ้าสุริยวงศ์จึงมีหนังสือไปบอกพระเจ้าแผ่นดินไทย ขันอาสาเข้า ตีเวียงจันทน์ทางด้านเหนือ แล้วพระเจ้าสุริยวงศ์ก็พาเอาทหาร 3,000 คน ลงมา ตั้งล้อมเมืองเวียงจันทน์ไว้ทางด้านหลัง พระเจ้าสิริบุญสารเห็นศึกขนาบข้างทางด้านหน้า และหลังเห็นเหลือกำลัง จึงให้ทิ้งเมืองพันพร้าว ข้ามมารวมกันอยู่เวียงจันทน์ กองทัพไทย จึงเข้าเมืองพันพร้าวได้ แล้วยกพลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งค่ายอยู่ทางด้านตะวันออกเวียงจันทน์ พระเจ้าสิริบุญสารจึงแต่งให้พระนันทะเสนราชโอรสเป็นแม่ทัพ คุมทหารออกไปตีกองทัพไทย เจ้านันทะเสนขี่ช้างพลายคำสูงหกศอกสามนิ้วออกรบ ตั้งแต่รบกันมา 4 เดือนเศษกองทัพไทยก็ยังไม่สามารถเข้าตีเอาเมืองได้ แต่พระเจ้าสิริบุญสารเห็นว่าจะสู้ศัตรูต่อไปไม่ไหว จึงพาเอาเจ้าอิน เจ้าพรมราชโอรสและคนสนิทลงเรือล่องหนีไปเมืองคำเกิดในเวลากลางคืน ฝ่ายเจ้านันทะเสนได้ทราบข่าวว่าพระราชบิดาหนีไปแล้วก็เสียพระทัย จึงตกลงเปิดประตูเมืองยอมให้กองทัพไทยเข้าเมืองได้ ในวันจันทร์ เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีกุน ..1141 (..1779) ..2322 เมื่อกองทัพไทยเข้าเมืองได้แล้วก็จับเอาเจ้านันทะเสน เจ้าอุปราชวังหน้า และนางแก้วยอดฟ้ากัลยานีสรกษัตริย์ พระราชธิดาของพระเจ้าสิริบุญสาร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ สาวสนมนอกในไว้หมดแล้ว ก็กวาดเก็บเอาทรัพย์สินข้าวของทั้งมวลอันมีค่าในพระคลังหลวง และของประชาราษฎรทั้งหลาย พร้อมด้วยพระแก้วมรกตและพระบางอันมีค่าของมิ่งเมืองลาว กวาดเอาครอบครัวคนลาวชาวเวียงจันทน์ ข้ามไปไว้เมืองพันพร้าว แล้วแม่ทัพไทยจึงให้สร้างหอพระแก้วขึ้นไว้ที่เมืองพันพร้าวเป็นการชั่วคราว และพร้อมกับการตีเวียงจันทน์ได้นี้ แม่ทัพไทยก็บังคับให้เจ้าสุริยวงศ์ เจ้านครหลวงพระบางยอมอ่อนน้อมต่อไทย และเป็น เมืองขึ้นของไทยดั่งเดียวกับเวียงจันทน์

ถึงเดือนยี่ แม่ทัพไทยจึงตั้งพระยาสุโพอยู่รักษาเมือง แล้วไทยก็กวาดเอาครอบ ครัวลาวเวียงจันทน์ พร้อมด้วยพระราชบุตร พระราชธิดา วงศานุวงศ์ ขุนนาง ท้าวพระยา พ่อค้าเศรษฐีคหบดีชาวเวียงจันทน์ ทั้งพระแก้วพระบางลงไปเมืองบางกอก เดือนยี่แรมลงไปถึงเมืองสระบุรี แม่ทัพไทยจึงให้ครอบครัวลาวหลายหมื่นครอบครัวตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นั่น เอาลงไปบางกอกแต่ครอบครัวเชื้อแนวกษัตริย์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น....”

แผนที่ลาวสมัยแตกเป็น 3 อาณาจักร ภายใต้การปกครองของสยาม

หนังสือประวัติศาสตร์ลาวแต่โบราณฯ เรียกกองทัพกรุงธนบุรีในเวลานั้นว่ากองทัพไทบางทีก็ใช้ไทย์คงจะให้เข้าใจได้ง่ายในยุคสมัยปัจจุบัน เพราะสมัยก่อนนั้นเรายังไม่ใช้คำว่าไทยเป็นชื่อรัฐชาติของเรา

ผมคัดลอกมาไว้ให้เห็นรายละเอียดของเหตุการณ์ตามที่มหาสิลา วีระวงส์ บันทึก ไว้ รวมทั้งน้ำเสียงที่อยากสั่งสอนคนลาวให้สำเหนียกในประวัติศาสตร์ที่ว่าทำไมลาวจึงตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม

ราชอาณาจักรลาวทั้งสาม คืออาณาจักรนครจำปาสักของเจ้าไชยกุมาร อาณาจักร เวียงจันทน์ของเจ้าสิริบุญสาร และอาณาจักรหลวงพระบางของเจ้าสุริยวงศ์ จึงได้เสีย เอกราชให้แก่ไทย (กรุงธนบุรี-ผู้เขียน) ลงพร้อมกันในปี ..1779 (..2322) เพราะ ความไม่ถูกต้องปรองดองกัน อิจฉาบังเบียดเคียดแค้นให้กันของเจ้านายลาว ด้วยประการดั่งนี้ ( มหาสิลา วีระวงส์ หนังสือประวัติศาสตร์ลาวแต่โบราณถึง 1946 หน้า 114-116)

ภายหลังจากราชการสงครามคราวนั้น อันทำให้อาณาจักรลาวทั้ง 3 อาณาจักร ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามถึง 114 ปี ยังมีเกล็ดประวัติศาสตร์ที่ทางลาวบันทึกไว้ และน่าสนใจอยู่หลายเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องราวสายสัมพันธ์โขงสองฝั่งที่ไม่จำเพาะแต่ลาว-ไทย แต่เกี่ยวพันไปถึงชาติประเทศอื่นๆ ในลุ่มแม่น้ำโขงทั้งมวล

ผมจะนำมาเล่าในโอกาสอันควร...

แผนที่สยามในสมัยรัชกาลที่ 1 (1782-1809) ระหว่าง พ..2325-2352 ในหนังสือ Atlas Encyclopediqu

ต่อเรื่อง

http://www.oknation.net/blog/kongsongfang/2008/05/25/entry-1

No comments:

Post a Comment