11 June 2008

ลัทธิล่าอาณานิคมเหนือโขงสองฝั่ง

วันที่ อังคาร พฤษภาคม 2551

พิมพ์หน้านี้ | ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation

ลัทธิล่าอาณานิคมเหนือโขงสองฝั่ง


9. ลัทธิล่าอาณานิคมเหนือโขงสองฝั่ง

พระยอดเมืองขวาง คู่กรณีของ แดววันตรี

“.....ตามประวัติศาสตร์มันเป็นมาอย่างนั้น ต่อมาพวกฮอลันดามาเอาฟิลิปปินส์ เอาอินโดเนเชีย แล้วเข้ามาประเทศสยาม (คือกรุงศรีอยุธยา-ผู้เขียน) เป็น เพราะว่าชาว ฮอลันดาเข้มแข็งกว่า จึงผลักดันพวกปอตุเกสหนีไป ฮอลันดาอยู่ในนั้นทำให้สยามเจริญ กว่าเก่า เรื่องนี้มีหลายประเทศรับรู้ ราชสำนักฝรั่งเศสส่งราชทูตมา ญี่ปุ่นก็ส่งดาบซามูไร มาถวายพระเจ้าแผ่นดิน...

...หลังจากนั้น มาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ อังกฤษได้อาฟกานิสถาน ตีปากีสถาน ได้อินเดีย ได้พม่า ตีได้พม่าแล้วแต่งให้พม่ามาตีสยาม (คือตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ..2310-ผู้เขียน)

กรุง ศรีอยุธยาแตกแล้วพม่าอยากเอาสยามรวมกับพม่า อังกฤษไม่อยากให้รวม เพราะว่าปากีสถานรวมกับอินเดียก็ใหญ่แล้ว พม่ากับสยามรวมกันก็จะใหญ่อีก ทำให้ ปกครองยาก อังกฤษจึงมาค้นหาผู้มีอิทธิพลอยู่ในสยามนี้ พบว่าพระยาตากค้าขายร่ำรวย และมีอิทธิพล อังกฤษจึงช่วยสร้างกองทัพให้พระยาตากตีพม่ากลับคืน ในเมื่อ (ขับไล่ พม่าออกไปแล้ว) จะตีเข้าเขตแดนของพม่าก็ไม่ได้ (เพราะ) อังกฤษไม่ยอมให้ตี เพราะว่าอังกฤษเอาแล้ว...

(จึง)มาตีทางใต้...ต่อชายแดนมาลายู ถึงตรงนั้นอังกฤษก็บอกให้หยุด เพราะ อังกฤษเอามาลายูแล้ว... มาทางตะวันออกนี่ได้อ่าวไทย ได้ศรีสะเกษ สุรินทร์ ซึ่งเป็นของเขมร...”

ผมเคยได้ยินแต่เรื่องกองทัพพม่าบุกเข้ากรุงศรีอยุธยา 2 ครั้ง ครั้งหลังคือ พ.. 2310 พม่าทำกับอยุธยาอย่างไร้มนุษยธรรม ด้วยการปล้นเรียบ ฆ่าเรียบ เผาเรียบ คนดีมีฝีมือก็ถูกกวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก

ผมรับรู้เช่นนั้นมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กนักเรียน แล้วก็สำนึกเสมอว่าพม่าเป็นผู้ร้าย ใจอธรรมในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย!

เมื่อ มาได้ยินคำบอกเล่าของท่านพูมี วงวิจิด ทำให้ผมต้องขยับมุมมองของเรื่องนี้ ให้กว้างออกไป คือแทนที่จะมองว่าเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกรุงอังวะกับกรุงศรี อยุธยาเพียง 2 เขตแคว้นแผ่นดินเท่านั้น ยังต้องเชื่อมโยงถึงสถานการณ์ทางสากลอีกด้วย

ฟังน้ำเสียงคำบอกเล่าของท่านพูมี วงวิจิด คล้ายกำลังบอกว่าก่อนการเป็น ประเทศไทยนั้น เราเคยตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติมาก่อน....นับแต่ปอตุเกส ฮอลันดา จนถึงยุคล่าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศส!

เรื่อง นี้ผมจะยังไม่ปักใจเชื่ออย่างหนึ่งอย่างใดลงไป เพียงแต่รับฟังไว้เป็นข้อมูล จากมุมมองของคนต่างประเทศ ยังต้องนำมาใคร่ครวญให้สมเหตุสมผลต่อไปอีก เพราะ ผมคิดว่าการสืบค้นประวัติศาสตร์จะต้องกระทำด้วยท่าทีของผู้ซึ่งบรรลุวุฒิ ภาวะ โดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่ ไม่บังควรทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นการสร้างความขัดแย้งใหม่ๆ จากความขัดแย้งเก่าในประวัติศาสตร์ แต่ควรศึกษาประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในอดีตเพื่อเก็บรับเป็นบทเรียน เพื่อจะได้กำหนดท่าทีต่ออนาคตได้อย่างเหมาะสม...

ถ้อยคำข้างต้นทั้งหมดนั้น ผมถอดมาจากข้อเขียนของผมในคอลัมน์ จากทิศ อีสาน นสพ.ผู้จัดการรายวัน เมื่อปี พ..2536

ไม่ ว่าถ้อยคำที่ท่านผู้เฒ่าพูมี วงวิจิด เล่าให้พวกเราฟังจะเท็จหรือจริงอย่างไร หรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่ผมได้จริงๆ ก็คือทรรศนะในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์

ผมมีเกล็ดที่น่าสนใจ อันทำให้เวลาที่ผมกรอกแบบพิมพ์ของทางราชการต้องระบุ สัญชาติไทย เท่านั้น ทั้งๆ ที่พูดภาษาลาวมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย

“...แต่ นี้สืบไป ให้เจ้าหน้าที่แต่ละแผนก ทุกหัวเมืองใหญ่น้อย ในมณฑลตะวัน ออกเฉียงเหนือ เมื่อจะมีการสำรวจสำมะโครัว หรือหากว่ามีราษฎรมาติดต่อที่จะต้องใช้ แบบพิมพ์ของทางราชการ ให้ปฏิบัติใหม่ โดยลงในช่องสัญชาตินั้นว่า : ชาติ ไทยในบังคับ สยามทั้งหมด ห้ามไม่ให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ส่วย ผู้ไท ฯลฯ ดั่งที่ได้ปฏิบัติมาแต่ก่อนเป็นอันขาด...”

เพียง คำสั่งของข้าหลวงต่างพระองค์ประจำหัวเมืองลาวเท่านั้น ชนชาติลาวที่อยู่ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ได้กลายเป็นชนชาติไทย ตั้งแต่ปี ค..1899 (..2442) เป็นต้นมา

เรื่องของเรื่อง...สืบเนื่องมาจาก ภายหลังที่สยามเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ แก่ฝรั่งเศส และบางส่วนทางฝั่งทะเลให้อังกฤษเมื่อปี ค..1894 (..2437) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงปรารภว่าลักษณะการปกครองแผ่นดินที่นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิปไตย (Empire Monarchique) โดยปกครองแบบคนต่างชาติ ต่างภาษา เป็นเมืองขึ้น จึ่งถือหัวเมืองมณฑลชั้นนอก 3 มณฑลนั้นเป็นเมืองลาว และเรียกชาวเมืองซึ่งอันที่จริงเป็นชนชาติ...

จึง มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า หัวเมืองชั้นในที่ได้รวมเมืองเข้า เป็นมณฑลจัดการเทศาภิบาลนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อมณฑลตาม พื้นที่อันสมควรแล้ว แต่มณฑลชั้นนอกมีมณฑลลาวเฉียง มณฑลลาวพวน มณฑลลาวกาว และมณฑลเขมร ยังไม่ได้เรียกชื่อมณฑลตามพื้นที่ให้เป็นระเบียบเดียวกัน จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

(1) เมืองเชียงใหม่ 1 เมืองลำพูน 1 เมืองน่าน 1 เมืองเถิน 1 เมืองแพร่ 1 กับเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวเฉียง นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ

(2) เมืองหนองคาย 1 เมืองหนองหาน 1 เมืองขอนแก่น 1 เมืองชนบท 1 เมืองหล่มสัก 1 เมืองกะมุทธาสัย (หนองบัวลำภู) 1 เมืองสกลนคร 1 เมืองชัยบุรี 1 (ปัจจุบันเป็นตำบลขึ้นอำเภอท่าอุเทน) เมืองโพนพิสัย 1 เมืองท่าอุเทน 1 เมืองนครพนม 1 เมืองมุกดาหาร 1 รวม 12 เมือง และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวพวน นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียก มณฑลฝ่ายเหนือ

(3) เมืองนครจำปาสัก 1 เมืองอุบลราชธานี 1 เมืองศรีสะเกษ 1 และเมืองอื่นๆ ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวกาว นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ

(4) เมืองพระตะบอง 1 เมืองเสียมราฐ1 เมืองศรีโสภณ 1 เมืองพนมสก 1 และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลเขมร นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลตะวันออก

(5) หัวเมืองในมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็น 4 บริเวณคือบริเวณนครราชสีมา 1 เมืองพิมาย 1 เมืองปักธงชัย 1 เมืองนครจันทึก 1 ซึ่งรวมเรียกว่าบริเวณนครราชสีมานั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียว่า เมืองนครราชสีมา

(6) เมืองนางรอง 1 เมืองบุรีรัมย์ 1 เมืองปะโคนชัย 1 เมืองพุทไธสง 1 เมืองรัตนบุรี 1 ซึ่งรวมเรียกว่า บริเวณนางรอง นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้รวมเรียกว่า เมืองนางรอง ยกเป็น เมืองจัตวาเมืองหนึ่ง

(7) เมืองชัยภูมิ 1 เมืองภูเขียว 1 เมืองเกษตรสมบูรณ์ 1 เมืองจตุรัส 1 เมือง บำเหน็จณรงค์ 1 ซึ่งรวมเรียกว่า บริเวณชัยภูมิ นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้รวมเรียกว่า เมืองชัยภูมิ ยกเป็นเมืองจัตวาเมืองหนึ่ง

ประกาศมา ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ..2442 ในรัชกาลที่ 5

โดย ที่ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าลักษณะการปกครองที่ผ่านมาเป็นอันพ้นเวลาที่ สมควรแล้ว ถ้าคงไว้จะกลับให้โทษแก่บ้านเมือง จึงทรงพระราชดำริให้เปลี่ยนการปกครองเป็น พระราชอาณาเขตประเทศสยาม (The Kingdom of Siam) เลิกประเพณีการมีเมืองประเทศราช และการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองดังแต่ก่อน

เรื่องราวการเสียดินแดนให้อังกฤษและ ฝรั่งเศสในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ถึง แม้ว่าจะเป็นที่ รับรู้โดยทั่วไปแล้ว แต่คนรุ่นหลังอาจยังไม่ซึมซับรับรู้ในรายละเอียด ผมจึงขอนำมาแสดงไว้พอสังเขป รวมทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องอีกตามสมควร

เมื่อปี ค..1868 (..2411) นักสำรวจภูมิประเทศชาวฝรั่งเศสชื่อดูดาร์ เดอลาเกะ (Doudart De Lagre’e) กับฟรังซีส การ์นิเย (Francis Garnier) เปรียบเทียบ แผ่นดินในแหลมอินโดจีนว่าเสมือนกับน้ำมือ 5 นิ้ว เนื่องจากมีแม่น้ำสายใหญ่ๆ 5 สายไหลผ่านคือ

แม่น้ำแดง ไหลผ่านแผ่นดินเวียดนาม

แม่น้ำโขง ไหลผ่านแผ่นดินลาว

แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านแผ่นดินสยาม

แม่น้ำสาระวินและแม่น้ำอิระวดี ไหลผ่านพม่า

ตาม ประวัติศาสตร์เชื้อชาติและนโยบายการปกครองของประเทศทั้งหลายที่ รวมกันอยู่ระหว่างสันภูต่างๆ ตามลุ่มแม่น้ำและสาขาของแม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่านไปนั้น ควรตกอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศส หาไม่แล้วจะต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ ในทางรัฐประศาสโนบายของประเทศเรา (ฝรั่งเศส)...”

ครั้นถึงปี ค..1883 (..2426) ในช่วงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชอาณาจักรสยาม ม. เดอลาเนสซัง ข้าหลวงใหญ่ประจำอินโดจีนได้เขียนรายงานถึงรัฐบาลฝรั่งเศสฉบับหนึ่งมีใจความว่า

เส้นขนานด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้เมืองลาวกายระหว่างมณฑลยูนนานกับเมืองขึ้นของพม่าและสยามนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน เรา (ฝรั่งเศส) น่า จะปล่อยให้เป็นอย่างนั้นไปก่อน เพื่อจะได้มีโอกาสขยับเข้าไปให้ถึงแม่น้ำโขงสักวันหนึ่ง ทางด้านตะวันตกจากอาณาเขตยูนนานไปถึงปากน้ำยมและน้ำโขงนั้น ควรจะกำหนดให้เป็นเส้นเขตแดนของเรา อาณาเขตของเราจะตั้งต้นตั้งแต่แม่น้ำยม ข้ามไปจรดกับฝั่งทะเลสาบใหญ่ทางทิศเหนือ รวมเอาพระตะบอง เสียมราษฎร์ นครวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรกลับคืนมาเสีย เราควรจะถือหลักการนี้ให้แน่นอน และถ้าเป็นการจำเป็นก็ควรคุ้มครอง (กำกับดูแล-ผู้เขียน) เอกราชของสยามอีกด้วย

นี่ คือจุดประสงค์ของฝรั่งเศสที่จะเอาแผ่นดินลาวคืนมาจากสยาม ทั้งหมายจะครอบครองดินแดนสยาม ฉะนั้นฝรั่งเศสจึงทำแผนที่แบ่งดินแดนของสยามออกเป็น 2 ภาค คือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเคยเป็นดินแดนของลาว พิมพ์แผนที่เป็นสี เหลือง จะรวมเข้ากับอินโดจีนให้เป็นของฝรั่งเศส ทางขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาพิมพ์เป็นสีม่วงโดยหวังจะให้รวมเข้ากับพม่าของ อังกฤษ

ทาง ด้านอังกฤษซึ่งครอบครองอินเดีย ปากีสถาน อาฟกานิสถาน และพม่าแล้ว นอกจากกอบโกยเอาทรัพยากรธรรมชาติไปจากประเทศเมืองขึ้นเหล่านั้นแล้ว ยังต้องนำเข้าข้าว ไม้สัก และดีบุกของสยามด้วย

โดยเฉพาะข้าว นอกจากประเทศจักรวรรดินิยมในยุโรปแล้ว ประเทศหัวเมืองขึ้น ของจักรวรรดนิยมเหล่านั้น อย่างฮ่องกง มลายู อินเดีย และอินโดเนเชีย ล้วนสั่งนำเข้า ข้าวจากสยาม ในช่วงระหว่าง พ..2408-2413 สยามส่งออกข้าวถึงร้อยละ 55-60 ของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมด

แต่ เดิมอังกฤษทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในพม่า ต่อมาแพร่ขยายมาทางภาคเหนือของไทย โดยใช้แรงงานคนพม่า ไทยใหญ่ และคนจากชาติอาณานิคมอื่นๆ เช่นอินเดีย จีน (ฮ่องกง) ต่อ มาคนจีนในสยามก็เริ่มทำกิจการป่าไม้ พ่อค้าอังกฤษก็รับซื้อไม้แปรรูปจากโรงเลื่อยคนจีน โดยเฉพาะไม้สักซึ่งว่ากันว่าไม้สักที่ไปจากสยามเป็นไม้สักชั้นเลิศของโลก

ประมาณปี พ..2438 (..1895) บริษัทใหญ่ๆ ของอังกฤษ 4 บริษัทคือ บริษัท Bombay Burma Trading Corp. Ltd. บริษัท Borneo Co. Ltd. บริษัท Anglo Siam Corp. Ltd. และบริษัท Louis T. Leonowens Ltd. กลายเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมไม้สัก เพราะสามารถผลิตไม้ได้ถึงร้อยละ 85 ของการผลิตทั้งหมด เพื่อสนองความต้องการของอังกฤษและยุโรป รวมทั้งประเทศอาณานิคม

เช่น เดียวกับแร่ดีบุกซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดยุโรป คนจีนเป็นผู้พัฒนาเหมืองแร่ดีบุกในไทย แล้วขายให้พ่อค้าอังกฤษ ส่งออกไปยังปีนัง สิงคโปร์เพื่อส่งต่อไปยังยุโรป (เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐกิจกับการเมืองไทย 80204 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช)

ต่อ มา เมื่อฝรั่งเศสเห็นอังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนสยามทางภาคเหนือ เพราะอังกฤษได้ทำสัญญาฉบับหนึ่งเกี่ยวกับอำนาจศาลและการค้าในจังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และขอตั้งสถานกงสุลที่เมืองเชียงใหม่ด้วย ฝรั่งเศสจึงได้ขอตั้งกงสุลของตนขึ้นที่นครหลวงพระบาง และได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งเรียกว่าอนุสัญญาเมืองหลวงพระบาง ลงวันที่ 7 พฤษภาคม ค..1886 (..2429) มี 6 ข้อดังนี้

ข้อ 1 ตาม ข้อความในอนุสัญญาฉบับนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามที่หลวงพระบาง ต้อง ให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองแก่ชนชาติฝรั่งเศส หรือคนในอารักขาของฝรั่งเศส

ข้อ 2 คนชาติฝรั่งเศส หรือคนในอารักขาของฝรั่งเศสดังกล่าวนี้ จะต้องมีหนังสือ เดินทางซึ่งเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสในประเทศอานาม (เวียดนาม) เป็นผู้ออกให้ หนังสือเดินทางนี้ ต้องเปลี่ยนทุกครั้งในเวลาสัญจรไปมา และต้องเอาออกแสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อเรียกตรวจ

ข้อ 3 คน ชาติฝรั่งเศสหรือคนในอารักขาของฝรั่งเศสดังกล่าวนี้ต้องเสียภาษีอากร ตามกฎหมายสยาม ภาษีนั้นต้องไม่มีอัตราสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บที่กรุงเทพฯ

ข้อ 4 ผลประโยชน์ของชนชาติเรา (ฝรั่งเศส) อยู่ในการดูแลของกงสุลหรือรอง กงสุลที่นครหลวงพระบาง

ข้อ 5 การอุทธรณ์คดีจะกระทำได้ในกรุงเทพฯ

ข้อ 6 ชนชาติเรา (ฝรั่งเศส) มี สิทธิ์ซื้อที่ดินในอาณาจักรหลวงพระบาง มีสิทธิ์สร้าง ถิ่นฐานและสิ่งปลูกสร้างอยู่ในอาณาจักรนี้ โดยที่เขาเหล่านั้นต้องเสียภาษีที่ดินและ ทรัพย์สินดั่งเดียวกันกับคนชนชาติสยาม

เมื่อได้ทำหนังสือสัญญาฉบับนี้แล้ว ฝรั่งเศสก็แต่งตั้ง ม. . ปาวี (A. Pavie) เป็นรองกงสุลไปประจำที่หลวงพระบางในต้นปี 1887 (2430) ต่อมาวันที่ 8 มิถุนายน ปีเดียว กัน ฝรั่งเศสได้เจรจากับสยามในเรื่องเขตแดนทางภาคตะวันออกของอาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งเวลานั้นกองทัพสยามอันมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นแม่ทัพ ได้ไปตั้งอยู่ที่เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เพื่อทำการปราบศึกฮ่อ

นายทหารสยามกับลูกน้องที่ไป ปราบโจรฮ่อสมัยสยามปกครองลาว รูปถ่ายปี ค..1891 (..2434)

ฝรั่งเศสได้ถามเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศของสยามว่า

ดินแดนส่วนนี้ พร้อมทั้งหัวพันทั้งห้าทั้งหก และแขวง 12 จุไทเป็นของเวียดนาม ถ้าสยามถือว่าเป็นของตน สยามมีแผนที่อันใดที่แสดงให้รู้ว่าดินแดนส่วนนี้เป็นของสยาม

แผนที่สังเขประยะทางมณฑลอุดร ร้อยเอ็ด อุบล ปี พ..2469

No comments:

Post a Comment