คอลัมน์ ภูมิสังคมวัฒนธรรม โดย โครงการสถาบันสุวรรณภูมิ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร www.svbhumi.com e-mail : sv@svbhumi.com
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตาก) โปรดให้เจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีได้เมืองเวียงจันเมื่อ พ.ศ.2322 แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐานที่วัดอรุณราชวราราม กรุงธนบุรี ครั้งนั้นได้กวาดต้อนท้าวนางจากเมืองเวียงจัน รวมทั้งเชลยลาวชาวอีสานเข้ามาเป็นประชากรกรุงธนบุรีอีกด้วย หนึ่งในบรรดาท้าวนางเวียงจัน มี "เจ้าจอมแว่น" ที่มีความสำคัญในราชสำนักรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (อ่านรายละเอียดได้ในหนังสือ โครงกระดูกในตู้ ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สยามรัฐ, 2514 และขัตติยราชปฏิพัทธ์ ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547) หลังจากนั้นยังกวาดต้อนลาวสองฝั่งโขงตั้งแต่หลวงพระบาง เวียงจัน จัมปาสัก และอีสาน เข้ามาสร้างกรุงเทพฯ แล้วตั้งหลักแหล่งเป็นชาวกรุงเทพฯสืบมา โปรดให้เกณฑ์ลาว (คืออีสานทุกวันนี้) เมืองเวียงจัน ตลอดจนหัวเมืองลาวริมแม่น้ำโขงฟากตะวันตก เข้ามาขุดรากก่อกำแพงพระนคร และสร้างป้อมเป็นระยะๆ รอบพระนคร ลาวที่ถูกเกณฑ์ทั้งหมดนี้ไม่ได้กลับถิ่นเดิม เพราะการสร้างบ้านแปลงเมืองไม่ได้เสร็จในคราวเดียว หากทำต่อเนื่องหลายรัชกาล พวกที่เกณฑ์มาจึงตั้งหลักแหล่งกระจายทั่วไปตามแต่นายงานจะสั่งให้อยู่ตรงไหน ทำงานที่ไหน ที่สุดแล้วก็สืบโคตรตระกูลลูกหลานตั้งหลักแหล่งถาวรอยู่ในบางกอกกลายเป็นคน กรุงเทพฯ เจ้านาย "วงศ์เวียงจัน" ใกล้ชิดสนิทสนมกับราชวงศ์จักรีมาก่อนสถาปนากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2325 ฉะนั้นเมื่อสร้างกรุงเทพฯแล้ว จึงโปรดให้สร้างวังเจ้านาย "วงศ์เวียงจัน" ขึ้นที่บางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ใกล้โรงเหล้าบางยี่ขัน) สำหรับเป็นที่อยู่เมื่อลงมากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า วังบางยี่ขัน ราชสำนักกรุงเทพฯ-ราชสำนักเวียงจัน ความใกล้ชิดเสมือน "เครือญาติ" ระหว่างราชสำนักกรุงเทพฯกับราชสำนักเวียงจัน ตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.2325 ดูได้จาก "ร่างตราเมืองเวียงจัน" ที่รัชกาลที่ 2 โปรดให้ส่งไปพระราชทานเจ้าอนุวงศ์เวียงจัน แล้วสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ค้นพบถวายรัชกาลที่ 5 พิมพ์ในพระราชวิจารณ์ว่า "กรมหลวงดำรงไปค้นได้ร่างตรา มีขึ้นไปถึงเจ้าอนุเวียงจันทน์ ว่าด้วยเรื่องทำสวนนี้ มีข้อความละเอียดลออไพเราะดีมาก ควรจะเห็นได้ว่าเป็นพระกระแสพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้ารับสั่งเรียงเอง ไม่ใช่เจ้าพระยาอภัยภูธรแต่งเป็นแน่ ต้องเป็นผู้ที่ได้คิดและได้เห็นงานแล้วจึงจะเรียงลงได้ เพราะราวกับบทละคร" วังเจ้านาย "วงศ์เวียงจัน" ที่บางยี่ขัน เจ้านายขุนนาง "ผู้ดี" ในกรุงเทพฯมีเชื้อสายลาวไม่มากก็น้อย ทั้งลาวเวียงจัน ลาวหลวงพระบาง ลาวจัมปาสัก และลาวอีสาน ดังมีพยานในหนังสือ นิราศวังบางยี่ขัน ของคุณพุ่ม แต่งเรื่องตามเสด็จพระองค์เจ้านารีรัตนาไปเยี่ยมพระญาติ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2412 (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา โปรดให้พิมพ์เมื่อ ปีจอ พ.ศ.2465) มีข้อเขียน นำเรื่อง นิราศวังบางยี่ขัน เรียบเรียงโดยอาจารย์บุญเตือน ศรีวรพจน์ (กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร เมื่อรวมพิมพ์ใน กวีสยามนำเที่ยวกรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มติชน, 2545) สรุปว่า กลอนนิราศวังบางยี่ขันของคุณพุ่มนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา โปรดฯให้พิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปีจอ พุทธศักราช 2465 ในการพิมพ์ครั้งนั้นได้ทำเชิงอรรถอธิบายความไว้ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับนามบุคคลต่างๆ ใน "วงศ์เวียงจัน" ซึ่งองค์ผู้โปรดฯ ให้พิมพ์ทรงรู้จักเป็นอย่างดี เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ "วงศ์เวียงจัน" ที่ "เมื่อเดิมทีมีบุญสกุลสูง กลายเปนยูงแล้วขยับกลับเป็นหงส์" นั้นไม่ปรากฏในเอกสารใดๆ มากนัก นิราศวังบางยี่ขันแม้จะเป็นกวีนิพนธ์สั้นๆ แต่สามารถให้รายละเอียดบางประเด็นที่เกี่ยวกับเจ้านายฝ่ายกรุงเทพฯที่สืบสาย มาจาก "วงศ์เวียงจัน" ส่วนวังบางยี่ขันและ "บ้านลาวชาวเวียงจัน" ที่เคยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ปัจจุบันไม่มีหลักฐานเหลือให้เห็น นอกจาก "พระแทรกคำ" พระประธานในพระอุโบสถวัดคฤหบดี อันเป็นอนุสรณ์ของ "หมดบุรินทร์สิ้นสูญอาดูรโดย เวียงจันท์โรยร้างราเป็นป่าไป" ให้ลูกหลานลาวเวียงได้รำลึกถึง สุนทรภู่เมื่อสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ 2 ก็ฝากตัวอยู่กับเจ้าฟ้าอาภรณ์กับเจ้าฟ้าปิ๋ว พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 ซึ่งประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ที่ทรงเป็นเชื้อสายราชวงศ์เวียงจัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวบวรราชาภิเษกแล้ว สุนทรภู่ก็เข้ารับราชการอยู่ในพระราชวังบวร ที่ทรงคุ้นเคยกับเจ้านายฝ่ายเวียงจัน คราวที่กองทัพไทยยกไปตีเมืองเวียงจันในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อพุทธศักราช 2369 ครั้งนั้นเจ้านายในราชสำนักกรุงเทพฯ ตลอดจนขุนนางไทยอาจมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงพยายามขจัดข้อขัดแย้งดังกล่าว จะเห็นได้จากการที่ทรงสถาปนา "เจ้าฟ้ากลาง" พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ขึ้นเป็นเจ้าฟ้ามหามาลา และกรมขุนบำราบปรปักษ์ ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดฯให้สร้างตำหนักขึ้นบริเวณชุมชน ลาวเวียงจัน ที่ตำบลสีเทา แขวงเมืองสระบุรี วังบางยี่ขันเป็นสถานที่พำนักของเจ้านายวงศ์เวียงจันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อเจ้าอนุวงศ์ซึ่งเป็นเจ้าปู่ของเจ้าจอมมารดาดวงคำยังอยู่ในกรุงเทพฯ ก็พำนักอยู่ที่วังบางยี่ขัน ครั้งนั้นเจ้าอนุวงศ์จัดให้มีการฝึกหัดละครขึ้นที่นี่ด้วย วังบางยี่ขันน่าจะอยู่เหนือวัดคฤหบดีขึ้นไป ตามที่คุณพุ่มพรรณนาว่า "เขาสมเสพเรียกทางบางยี่ขัน ยังไม่ถึงบ้านลาวชาวเวียงจัน" ครั้นพระองค์เจ้านารีรัตนาเสด็จถึง "พวกที่วังบางยี่ขันพันธุ์พระญาติ" ก็มารับเสด็จ พระญาติฝ่ายเจ้าจอมมารดาดวงคำซึ่งอยู่ที่วังบางยี่ขันตามที่ปรากฏในนิราศ คือ เจ้าแม่แก้ว (น่าจะเป็นมารดาของเจ้าจอมมารดาดวงคำ) เจ้าลุงจอม (น่าจะมีศักดิ์เป็นลุงของเจ้าจอมมารดาดวงคำ) และเจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ เจ้าเมืองมุกดาหาร เนื้อความในนิราศตอนนี้กล่าวถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในพระราชวงศ์จักรีที่พระ มารดามีเชื้อสาย "วงศ์เวียงจัน" ๏ แต่เจ้าเมืองมุกดาได้มาปะองค์พระดนัยนาถเสนหา คือพระสายสุดกระษัตริย์รัตนาเป็นนัดดาเนื้อนพคุณนาม เฉลิมวงศ์เวียงจันโดยอันดับสืบสลับในจังหวัดกระษัตริย์สยาม พระน้องน้อยนงนุชนั้นสุดงามทรงพระนามประดิษฐาสร้อยสารี มิได้ตามบาทบงสุ์พระองค์ใหญ่เสด็จอยู่ในตึกตำหนักเป็นศักดิ์ศรี ได้มาชมสมถวิลก็ยินดีจดบาญชีชื่อเสียงชาวเวียงวงศ์ เมื่อเดิมทีมีบุญสกุลสูงกลายเปนยูงแล้วขยับกลับเปนหงส์ อันชาวศรีสัตนหุตสมมุติพงศ์ร่วมพระวงศ์สมเด็จฟ้ามาลากร คือกรมขุนบำราบปรปักษ์เฉลิมหลักโมลิศอดิศร เปนวงศ์เวียงเรียงลำดับไม่ซับซ้อน กับสมรเสมอทรวงแม่ดวงคำ แลนับเนื่องเบื้องยุคลกุณฑลฟ้าวงศ์จังหวัดสัตนาเลขาขำ เจ้ามุกดามาจำเพาะคราวเคราะห์กรรมป่วยประจำจึงบอก "คุณ" ออกมา "คุณ" ในที่นี้คือ คุณจอมมารดาดวงคำ ในรัชกาลที่ 4 เป็นหลานปู่เจ้าอนุวงศ์ "สมเด็จฟ้ามาลากร" หมายถึง สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีวงศ์เวียงจัน "กุณฑลฟ้า" หมายถึง เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจันทบุรี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทองสุก เมื่อปีมะเมีย พุทธศักราช 2341 มีพระประวัติกล่าวไว้ในเรื่อง "ปฐมวงศ์" ว่า "พระองค์เจ้าจันทบุรี เจ้าจอมมารดาเป็นพระสนมเอก แลเป็นบุตรีเจ้าเมืองเวียงจันท์ แต่ก่อนโปรดฯ ให้เป็นแต่เพียงพระองค์เจ้าเหมือนกัน กับพระราชบุตรแลพระราชบุตรีพระองค์อื่นที่ประสูติแต่พระสนม เจ้าจอมมารดาของพระองค์เจ้านั้นสิ้นชีพในปีกุนเบญจศก เมื่อกรมพระราชวังบวรสวรรคตแล้วนั้น พระองค์เจ้านั้นมีพระชนมายุได้ห้าขวบ เป็นกำพร้าไม่มีเจ้าจอมมารดา ทรงพระกรุณามาก ภายหลังล่วงมาปีหนึ่งพระองค์เจ้านั้นตามเสด็จลงไปลอยกระทง วิ่งเล่นตกน้ำหายไป คนทั้งปวงเที่ยวหาอยู่ครู่หนึ่งจึงพบพระองค์เจ้าไปเกาะทุ่นหยวกอยู่ หาจมน้ำไม่ ผู้พบเชิญเสด็จกลับมาได้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดมากขึ้น มีพระบรมราชโองการดำรัสว่า พระองค์เจ้านี้เจ้าจอมมารดาก็เป็นเจ้าฝ่ายลาว อัยกาธิบดีคือเจ้าเวียงจันท์ก็ยังอยู่ ควรจะให้เลื่อนเป็นที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า จึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานสุพรรณบัฏให้เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เจ้าฟ้าพระองค์นี้ได้เป็นพระวรราชชายานารีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย มีพระโอรสพระธิดาเป็นเจ้าฟ้าสี่พระองค์" พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ได้แก่ เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ากลาง (สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์) เจ้าฟ้าหญิง (สิ้นพระชนม์ แต่ยังทรงพระเยาว์) และเจ้าฟ้าปิ๋ว ล้วนเป็นเชื้อวงศ์เวียงจันที่ทรงอุปการะสุนทรภู่ หน้า 34--จบ-- June 16, 20
เพราะฉะนั้น
ชาวกรุงเทพส่วนใหญ่จึงไม่ใช่ไทยแท้แน่นอน
เพราะไทยแท้จะต้องหน้าตาเหมือนรูปคนไทยข้างล่าง อิอิ
ที่มา http://www.dnhospital.com/watsun/watsun.htm
หน้าตาแบบไหน ถึงจะเรียกได้ว่าเป็น "ไทยแท้" ?
ลาวโซ่ง
กระเหรี่ยง
ลาวเวียง
จีน
มอญ
ล้านนา
เขมร
ไทยแท้
หน้าตาเผ่าพันธุ์แบบนี้ ผิวต้องสีนี้
ถึงเรียกข้าได้ว่าเป็น "ไทยแท้"
แห่งผืนแผ่นดินสยามประเทศ
อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2162245#ixzz1PMb4JxZW
No comments:
Post a Comment