22 August 2011

ผู้เชี่ยวชาญกรมศิลป์ ยันศิลาจารึกของไทย อายุเก่าแก่กว่า"ลาว"

(ເກັບມາໄວ້ໃຫ້ອ່ານ ຢ້ານມັນເສັຍ ບໍ່ຕ້ອງປະຣິວັດເປັນອັກສອນລາວ-ຢ້ານມັນເສັຍອັດຖະຣົດ ແລະຄວາມໝາຍ)

Barcode: ISBN:
Lib. Code: Call Number:
Title: ผู้เชี่ยวชาญกรมศิลป์ ยันศิลาจารึกของไทย อายุเก่าแก่กว่า"ลาว"
Author: เว็บไซต์มติชน
Publication: http://www.matichon.co.th/matichon, ,
Language:
Country:
Abstract:
ผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรชี้ศิลาจารึกของไทยเก่าแก่กว่าของลาวแน่นอน ระบุหากคนไทยคิดว่าของลาวเก่าแก่กว่าแสดงว่าโง่ ไม่ฉลาด อ่านศิลาจารึกไม่เป็น ส่วนจะเป็นของปลอมหรือแท้ต้องดูหลักศิลาก่อน ผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรเชื่อว่าศิลาจารึกของประเทศไทยมีอายุเก่าแก่กว่าหลัก ศิลาจารึกที่พบในประเทศลาว ทั้งระบุว่าหากคนไทยคิดว่าของประเทศลาวเก่ากว่าแสดงว่าคนนั้นโง่ไม่ฉลาด อ่านศิลาจารึกไม่เป็น ส่วนจะเป็นของจริงหรือปลอมต้องขอดูก่อนจึงจะระบุได้ ขณะที่นักวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ศิลาจารึกของประเทศลาวจะเก่าแก่กว่าของไทย แต่ต้องเห็นวัตถุตัวจริงก่อนจะยืนยัน สำหรับความเห็นที่แตกต่างเกิดจากกรณีค้นพบศิลาจารึกลาวที่วัดวิชุน เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปปล.) ซึ่งนายบุนมี เทพสีเมือง ผู้เชี่ยวชาญภาษาลาวระบุว่า สร้างขึ้นในปีจุลศักราช 532 ตรงกับ พ.ศ.1713 เท่ากับมีอายุเก่าแก่กว่าศิลาจารึกสุโขทัย 113 ปี ทั้งนี้ น.ส.ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณ กรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์วันที่ 6 ธันวาคม ว่า ตนคิดว่าศิลาจารึกของประเทศไทยมีอายุเก่ากว่าศิลาจารึกของประเทศลาว และไม่มีประเทศใดๆ มีศิลาจารึกเก่าแก่กว่าประเทศไทย "คนไทยนั้นจะคิดว่าของประเทศลาวนั้นเก่ากว่า แสดงว่าคนนั้นโง่ไม่ฉลาด เพราะอ่านศิลาจารึกไม่เป็น จะต้องอ่านศิลาจารึกเป็นจึงจะรู้ ดิฉันเห็นว่าศิลาจารึกของประเทศลาวมีความใหม่กว่าศิลาจารึกของประเทศไทย แต่จะบอกว่าศิลาจารึกของประเทศลาวเป็นของจริงหรือของปลอมคงจะต้องเห็นตัว ศิลาจารึกของจริงจึงจะบอกได้ ทั้งนี้ อย่าไปแข่งหรือเปรียบเทียบกับของต่างชาติว่าของใครเก่าแก่กว่ากันเลย เสียเวลาเปล่าๆ ศิลาจารึกของไทยมีความเก่าแก่กว่าแน่นอน" นางสาวก่องแก้วกล่าว ส่วนนายฉลอง สุนทราวาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ศิลาจารึกของประเทศลาวจะมีความเก่าแก่กว่าศิลาจารึกของ ประเทศไทย ซึ่งหากจะบอกว่าศิลาจารึกของประเทศลาวมีอายุเท่าใด จะต้องเห็นตัววัตถุคือศิลาจารึกก่อน นายฉลองกล่าวต่ออีกว่า เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่ไม่มีใครเคยเห็นศิลาจารึกดังกล่าวของประเทศลาวมา ก่อน หากพิสูจน์ได้ว่าศิลาจารึกของประเทศลาวมีอายุเก่าแก่กว่าศิลาจารึกของประเทศ ไทย น่าจะมีการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ลาวเพิ่มเติม เพราะทุกวันนี้ยังไม่มีการศึกษาข้อเท็จจริง ไม่มีข้อมูลศิลาจารึกของประเทศลาว ซึ่งจะทำให้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีไทยต้องกลับมานั่งทบทวนและ ไตร่ตรองว่า หลักฐานของศิลาจารึกลาวให้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นในด้านใดบ้าง ทางด้านนายไมเคิล ไรท ที่ปรึกษานิตยสารศิลปวัฒนธรรม กล่าวว่า พิจารณาจากลักษณะของตัวอักษรในศิลาจารึกที่วัดวิชุน ซึ่งอ้างว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1713 แล้วตนไม่เชื่อว่าจะมีอายุเก่าแก่ขนาดนั้น อย่างมากน่าจะอยู่ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งเท่ากับหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงไปแล้ว นายไรทตั้งข้อสังเกตว่า "ถ้าศิลาจารึกลาวอายุเก่าถึง พ.ศ.1713 จริง น่าจะอ่านไม่ออกเลย เพราะตัวอักษรจะต่างจากที่เห็นมาก อักษร ก.ไก่ น่าจะมีลักษณะเป็น 3 ขา เช่นอักษรมอญและอักษรขอม แม้แต่ ก.ไก่ ในสมัยสุโขทัยก็ยังคงมีลักษณะเป็น 3 ขา แต่เขียนหวัดกว่า แต่ ก.ไก่ ในศิลาจารึกลาวมีลักษณะคล้ายกับ ก.ไก่ ในสมัยหลัง ดูคล้ายอักษรสมัยสุโขทัยมากกว่า" นายไรทกล่าวว่า "นอกจากนี้ที่ผู้เชี่ยวชาญภาษาลาวตั้งข้อสังเกตว่าอักษรมีรูปทรงใกล้เคียง กับอักษรเทวนาครีที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตก็ไม่ใช่ เพราะอักษรเทวนาครีจะเกี่ยวข้องกับทางอินเดียตอนเหนือ ไม่เกี่ยวกับอักษรในอุษาคเนย์ อักษรในดินแดนแถบอุษาคเนย์ทั้งหมดพัฒนาการมาจากอักษรปัลลวะ" ด้านนายสุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ ให้ความเห็นว่า ตนไม่เคยทราบเรื่องจารึกลาวมาก่อน เพราะอ่านตัวลาวไม่ได้ ยังไม่ทราบว่าจารึกลาวจากวัดวิชุนจะเป็นเรื่องจริงจังมากน้อยขนาดไหน ไม่ต้องการให้ด่วนสรุปเอาไปโยงเข้ากับเรื่องพ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย ต่อกรณีที่ว่าการพบศิลาจารึกลาวหลักนี้เป็นข้อบ่งชี้ถึงเส้นทางการเคลื่อน ย้ายของคนไทย-ลาวที่มาจากทางตะวันออกจากแม่น้ำอู แม่น้ำดำ ตัดผ่านแม่น้ำโขงมาสุโขทัย นายสุจิตต์ให้ความเห็นว่า "ถึงไม่มีจารึกอะไรบอก หรือไม่มีจารึกเก่าอย่างกรณีนี้ หลักฐานอื่นๆ ก็ยืนยันนานมากแล้วว่าคนไทยไม่ได้มาจากไหน เพราะเพิ่งเรียกตัวเองว่า "คนไทย" สมัยต้นๆ อยุธยานี่เอง และพวกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบทบาทมากในเรื่องนี้คือ จ้วงจากกวางสี-กวางตุ้ง ผ่านทางบก เวียดนาม ลาว เข้าลำน้ำโขงและไทย"
Note: December 07, 2005 Wednesday, 08:15
Keyword: วัฒนธรรม
Price: B$ Page:

No comments:

Post a Comment