11 June 2008

ลัทธิล่าอาณานิคมเหนือโขงสองฝั่ง

วันที่ อังคาร พฤษภาคม 2551

พิมพ์หน้านี้ | ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation

ลัทธิล่าอาณานิคมเหนือโขงสองฝั่ง


9. ลัทธิล่าอาณานิคมเหนือโขงสองฝั่ง

พระยอดเมืองขวาง คู่กรณีของ แดววันตรี

“.....ตามประวัติศาสตร์มันเป็นมาอย่างนั้น ต่อมาพวกฮอลันดามาเอาฟิลิปปินส์ เอาอินโดเนเชีย แล้วเข้ามาประเทศสยาม (คือกรุงศรีอยุธยา-ผู้เขียน) เป็น เพราะว่าชาว ฮอลันดาเข้มแข็งกว่า จึงผลักดันพวกปอตุเกสหนีไป ฮอลันดาอยู่ในนั้นทำให้สยามเจริญ กว่าเก่า เรื่องนี้มีหลายประเทศรับรู้ ราชสำนักฝรั่งเศสส่งราชทูตมา ญี่ปุ่นก็ส่งดาบซามูไร มาถวายพระเจ้าแผ่นดิน...

...หลังจากนั้น มาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ อังกฤษได้อาฟกานิสถาน ตีปากีสถาน ได้อินเดีย ได้พม่า ตีได้พม่าแล้วแต่งให้พม่ามาตีสยาม (คือตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ..2310-ผู้เขียน)

กรุง ศรีอยุธยาแตกแล้วพม่าอยากเอาสยามรวมกับพม่า อังกฤษไม่อยากให้รวม เพราะว่าปากีสถานรวมกับอินเดียก็ใหญ่แล้ว พม่ากับสยามรวมกันก็จะใหญ่อีก ทำให้ ปกครองยาก อังกฤษจึงมาค้นหาผู้มีอิทธิพลอยู่ในสยามนี้ พบว่าพระยาตากค้าขายร่ำรวย และมีอิทธิพล อังกฤษจึงช่วยสร้างกองทัพให้พระยาตากตีพม่ากลับคืน ในเมื่อ (ขับไล่ พม่าออกไปแล้ว) จะตีเข้าเขตแดนของพม่าก็ไม่ได้ (เพราะ) อังกฤษไม่ยอมให้ตี เพราะว่าอังกฤษเอาแล้ว...

(จึง)มาตีทางใต้...ต่อชายแดนมาลายู ถึงตรงนั้นอังกฤษก็บอกให้หยุด เพราะ อังกฤษเอามาลายูแล้ว... มาทางตะวันออกนี่ได้อ่าวไทย ได้ศรีสะเกษ สุรินทร์ ซึ่งเป็นของเขมร...”

ผมเคยได้ยินแต่เรื่องกองทัพพม่าบุกเข้ากรุงศรีอยุธยา 2 ครั้ง ครั้งหลังคือ พ.. 2310 พม่าทำกับอยุธยาอย่างไร้มนุษยธรรม ด้วยการปล้นเรียบ ฆ่าเรียบ เผาเรียบ คนดีมีฝีมือก็ถูกกวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก

ผมรับรู้เช่นนั้นมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กนักเรียน แล้วก็สำนึกเสมอว่าพม่าเป็นผู้ร้าย ใจอธรรมในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย!

เมื่อ มาได้ยินคำบอกเล่าของท่านพูมี วงวิจิด ทำให้ผมต้องขยับมุมมองของเรื่องนี้ ให้กว้างออกไป คือแทนที่จะมองว่าเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกรุงอังวะกับกรุงศรี อยุธยาเพียง 2 เขตแคว้นแผ่นดินเท่านั้น ยังต้องเชื่อมโยงถึงสถานการณ์ทางสากลอีกด้วย

ฟังน้ำเสียงคำบอกเล่าของท่านพูมี วงวิจิด คล้ายกำลังบอกว่าก่อนการเป็น ประเทศไทยนั้น เราเคยตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติมาก่อน....นับแต่ปอตุเกส ฮอลันดา จนถึงยุคล่าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศส!

เรื่อง นี้ผมจะยังไม่ปักใจเชื่ออย่างหนึ่งอย่างใดลงไป เพียงแต่รับฟังไว้เป็นข้อมูล จากมุมมองของคนต่างประเทศ ยังต้องนำมาใคร่ครวญให้สมเหตุสมผลต่อไปอีก เพราะ ผมคิดว่าการสืบค้นประวัติศาสตร์จะต้องกระทำด้วยท่าทีของผู้ซึ่งบรรลุวุฒิ ภาวะ โดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่ ไม่บังควรทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นการสร้างความขัดแย้งใหม่ๆ จากความขัดแย้งเก่าในประวัติศาสตร์ แต่ควรศึกษาประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในอดีตเพื่อเก็บรับเป็นบทเรียน เพื่อจะได้กำหนดท่าทีต่ออนาคตได้อย่างเหมาะสม...

ถ้อยคำข้างต้นทั้งหมดนั้น ผมถอดมาจากข้อเขียนของผมในคอลัมน์ จากทิศ อีสาน นสพ.ผู้จัดการรายวัน เมื่อปี พ..2536

ไม่ ว่าถ้อยคำที่ท่านผู้เฒ่าพูมี วงวิจิด เล่าให้พวกเราฟังจะเท็จหรือจริงอย่างไร หรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่ผมได้จริงๆ ก็คือทรรศนะในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์

ผมมีเกล็ดที่น่าสนใจ อันทำให้เวลาที่ผมกรอกแบบพิมพ์ของทางราชการต้องระบุ สัญชาติไทย เท่านั้น ทั้งๆ ที่พูดภาษาลาวมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย

“...แต่ นี้สืบไป ให้เจ้าหน้าที่แต่ละแผนก ทุกหัวเมืองใหญ่น้อย ในมณฑลตะวัน ออกเฉียงเหนือ เมื่อจะมีการสำรวจสำมะโครัว หรือหากว่ามีราษฎรมาติดต่อที่จะต้องใช้ แบบพิมพ์ของทางราชการ ให้ปฏิบัติใหม่ โดยลงในช่องสัญชาตินั้นว่า : ชาติ ไทยในบังคับ สยามทั้งหมด ห้ามไม่ให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ส่วย ผู้ไท ฯลฯ ดั่งที่ได้ปฏิบัติมาแต่ก่อนเป็นอันขาด...”

เพียง คำสั่งของข้าหลวงต่างพระองค์ประจำหัวเมืองลาวเท่านั้น ชนชาติลาวที่อยู่ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ได้กลายเป็นชนชาติไทย ตั้งแต่ปี ค..1899 (..2442) เป็นต้นมา

เรื่องของเรื่อง...สืบเนื่องมาจาก ภายหลังที่สยามเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ แก่ฝรั่งเศส และบางส่วนทางฝั่งทะเลให้อังกฤษเมื่อปี ค..1894 (..2437) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงปรารภว่าลักษณะการปกครองแผ่นดินที่นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิปไตย (Empire Monarchique) โดยปกครองแบบคนต่างชาติ ต่างภาษา เป็นเมืองขึ้น จึ่งถือหัวเมืองมณฑลชั้นนอก 3 มณฑลนั้นเป็นเมืองลาว และเรียกชาวเมืองซึ่งอันที่จริงเป็นชนชาติ...

จึง มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า หัวเมืองชั้นในที่ได้รวมเมืองเข้า เป็นมณฑลจัดการเทศาภิบาลนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อมณฑลตาม พื้นที่อันสมควรแล้ว แต่มณฑลชั้นนอกมีมณฑลลาวเฉียง มณฑลลาวพวน มณฑลลาวกาว และมณฑลเขมร ยังไม่ได้เรียกชื่อมณฑลตามพื้นที่ให้เป็นระเบียบเดียวกัน จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

(1) เมืองเชียงใหม่ 1 เมืองลำพูน 1 เมืองน่าน 1 เมืองเถิน 1 เมืองแพร่ 1 กับเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวเฉียง นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ

(2) เมืองหนองคาย 1 เมืองหนองหาน 1 เมืองขอนแก่น 1 เมืองชนบท 1 เมืองหล่มสัก 1 เมืองกะมุทธาสัย (หนองบัวลำภู) 1 เมืองสกลนคร 1 เมืองชัยบุรี 1 (ปัจจุบันเป็นตำบลขึ้นอำเภอท่าอุเทน) เมืองโพนพิสัย 1 เมืองท่าอุเทน 1 เมืองนครพนม 1 เมืองมุกดาหาร 1 รวม 12 เมือง และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวพวน นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียก มณฑลฝ่ายเหนือ

(3) เมืองนครจำปาสัก 1 เมืองอุบลราชธานี 1 เมืองศรีสะเกษ 1 และเมืองอื่นๆ ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวกาว นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ

(4) เมืองพระตะบอง 1 เมืองเสียมราฐ1 เมืองศรีโสภณ 1 เมืองพนมสก 1 และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลเขมร นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลตะวันออก

(5) หัวเมืองในมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็น 4 บริเวณคือบริเวณนครราชสีมา 1 เมืองพิมาย 1 เมืองปักธงชัย 1 เมืองนครจันทึก 1 ซึ่งรวมเรียกว่าบริเวณนครราชสีมานั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้เรียว่า เมืองนครราชสีมา

(6) เมืองนางรอง 1 เมืองบุรีรัมย์ 1 เมืองปะโคนชัย 1 เมืองพุทไธสง 1 เมืองรัตนบุรี 1 ซึ่งรวมเรียกว่า บริเวณนางรอง นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้รวมเรียกว่า เมืองนางรอง ยกเป็น เมืองจัตวาเมืองหนึ่ง

(7) เมืองชัยภูมิ 1 เมืองภูเขียว 1 เมืองเกษตรสมบูรณ์ 1 เมืองจตุรัส 1 เมือง บำเหน็จณรงค์ 1 ซึ่งรวมเรียกว่า บริเวณชัยภูมิ นั้น ต่อแต่นี้สืบไปให้รวมเรียกว่า เมืองชัยภูมิ ยกเป็นเมืองจัตวาเมืองหนึ่ง

ประกาศมา ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ..2442 ในรัชกาลที่ 5

โดย ที่ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าลักษณะการปกครองที่ผ่านมาเป็นอันพ้นเวลาที่ สมควรแล้ว ถ้าคงไว้จะกลับให้โทษแก่บ้านเมือง จึงทรงพระราชดำริให้เปลี่ยนการปกครองเป็น พระราชอาณาเขตประเทศสยาม (The Kingdom of Siam) เลิกประเพณีการมีเมืองประเทศราช และการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองดังแต่ก่อน

เรื่องราวการเสียดินแดนให้อังกฤษและ ฝรั่งเศสในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ถึง แม้ว่าจะเป็นที่ รับรู้โดยทั่วไปแล้ว แต่คนรุ่นหลังอาจยังไม่ซึมซับรับรู้ในรายละเอียด ผมจึงขอนำมาแสดงไว้พอสังเขป รวมทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องอีกตามสมควร

เมื่อปี ค..1868 (..2411) นักสำรวจภูมิประเทศชาวฝรั่งเศสชื่อดูดาร์ เดอลาเกะ (Doudart De Lagre’e) กับฟรังซีส การ์นิเย (Francis Garnier) เปรียบเทียบ แผ่นดินในแหลมอินโดจีนว่าเสมือนกับน้ำมือ 5 นิ้ว เนื่องจากมีแม่น้ำสายใหญ่ๆ 5 สายไหลผ่านคือ

แม่น้ำแดง ไหลผ่านแผ่นดินเวียดนาม

แม่น้ำโขง ไหลผ่านแผ่นดินลาว

แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านแผ่นดินสยาม

แม่น้ำสาระวินและแม่น้ำอิระวดี ไหลผ่านพม่า

ตาม ประวัติศาสตร์เชื้อชาติและนโยบายการปกครองของประเทศทั้งหลายที่ รวมกันอยู่ระหว่างสันภูต่างๆ ตามลุ่มแม่น้ำและสาขาของแม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่านไปนั้น ควรตกอยู่ภายใต้อำนาจของฝรั่งเศส หาไม่แล้วจะต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ ในทางรัฐประศาสโนบายของประเทศเรา (ฝรั่งเศส)...”

ครั้นถึงปี ค..1883 (..2426) ในช่วงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชอาณาจักรสยาม ม. เดอลาเนสซัง ข้าหลวงใหญ่ประจำอินโดจีนได้เขียนรายงานถึงรัฐบาลฝรั่งเศสฉบับหนึ่งมีใจความว่า

เส้นขนานด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้เมืองลาวกายระหว่างมณฑลยูนนานกับเมืองขึ้นของพม่าและสยามนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน เรา (ฝรั่งเศส) น่า จะปล่อยให้เป็นอย่างนั้นไปก่อน เพื่อจะได้มีโอกาสขยับเข้าไปให้ถึงแม่น้ำโขงสักวันหนึ่ง ทางด้านตะวันตกจากอาณาเขตยูนนานไปถึงปากน้ำยมและน้ำโขงนั้น ควรจะกำหนดให้เป็นเส้นเขตแดนของเรา อาณาเขตของเราจะตั้งต้นตั้งแต่แม่น้ำยม ข้ามไปจรดกับฝั่งทะเลสาบใหญ่ทางทิศเหนือ รวมเอาพระตะบอง เสียมราษฎร์ นครวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรกลับคืนมาเสีย เราควรจะถือหลักการนี้ให้แน่นอน และถ้าเป็นการจำเป็นก็ควรคุ้มครอง (กำกับดูแล-ผู้เขียน) เอกราชของสยามอีกด้วย

นี่ คือจุดประสงค์ของฝรั่งเศสที่จะเอาแผ่นดินลาวคืนมาจากสยาม ทั้งหมายจะครอบครองดินแดนสยาม ฉะนั้นฝรั่งเศสจึงทำแผนที่แบ่งดินแดนของสยามออกเป็น 2 ภาค คือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเคยเป็นดินแดนของลาว พิมพ์แผนที่เป็นสี เหลือง จะรวมเข้ากับอินโดจีนให้เป็นของฝรั่งเศส ทางขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาพิมพ์เป็นสีม่วงโดยหวังจะให้รวมเข้ากับพม่าของ อังกฤษ

ทาง ด้านอังกฤษซึ่งครอบครองอินเดีย ปากีสถาน อาฟกานิสถาน และพม่าแล้ว นอกจากกอบโกยเอาทรัพยากรธรรมชาติไปจากประเทศเมืองขึ้นเหล่านั้นแล้ว ยังต้องนำเข้าข้าว ไม้สัก และดีบุกของสยามด้วย

โดยเฉพาะข้าว นอกจากประเทศจักรวรรดินิยมในยุโรปแล้ว ประเทศหัวเมืองขึ้น ของจักรวรรดนิยมเหล่านั้น อย่างฮ่องกง มลายู อินเดีย และอินโดเนเชีย ล้วนสั่งนำเข้า ข้าวจากสยาม ในช่วงระหว่าง พ..2408-2413 สยามส่งออกข้าวถึงร้อยละ 55-60 ของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมด

แต่ เดิมอังกฤษทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในพม่า ต่อมาแพร่ขยายมาทางภาคเหนือของไทย โดยใช้แรงงานคนพม่า ไทยใหญ่ และคนจากชาติอาณานิคมอื่นๆ เช่นอินเดีย จีน (ฮ่องกง) ต่อ มาคนจีนในสยามก็เริ่มทำกิจการป่าไม้ พ่อค้าอังกฤษก็รับซื้อไม้แปรรูปจากโรงเลื่อยคนจีน โดยเฉพาะไม้สักซึ่งว่ากันว่าไม้สักที่ไปจากสยามเป็นไม้สักชั้นเลิศของโลก

ประมาณปี พ..2438 (..1895) บริษัทใหญ่ๆ ของอังกฤษ 4 บริษัทคือ บริษัท Bombay Burma Trading Corp. Ltd. บริษัท Borneo Co. Ltd. บริษัท Anglo Siam Corp. Ltd. และบริษัท Louis T. Leonowens Ltd. กลายเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมไม้สัก เพราะสามารถผลิตไม้ได้ถึงร้อยละ 85 ของการผลิตทั้งหมด เพื่อสนองความต้องการของอังกฤษและยุโรป รวมทั้งประเทศอาณานิคม

เช่น เดียวกับแร่ดีบุกซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดยุโรป คนจีนเป็นผู้พัฒนาเหมืองแร่ดีบุกในไทย แล้วขายให้พ่อค้าอังกฤษ ส่งออกไปยังปีนัง สิงคโปร์เพื่อส่งต่อไปยังยุโรป (เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐกิจกับการเมืองไทย 80204 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช)

ต่อ มา เมื่อฝรั่งเศสเห็นอังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนสยามทางภาคเหนือ เพราะอังกฤษได้ทำสัญญาฉบับหนึ่งเกี่ยวกับอำนาจศาลและการค้าในจังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และขอตั้งสถานกงสุลที่เมืองเชียงใหม่ด้วย ฝรั่งเศสจึงได้ขอตั้งกงสุลของตนขึ้นที่นครหลวงพระบาง และได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งเรียกว่าอนุสัญญาเมืองหลวงพระบาง ลงวันที่ 7 พฤษภาคม ค..1886 (..2429) มี 6 ข้อดังนี้

ข้อ 1 ตาม ข้อความในอนุสัญญาฉบับนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามที่หลวงพระบาง ต้อง ให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองแก่ชนชาติฝรั่งเศส หรือคนในอารักขาของฝรั่งเศส

ข้อ 2 คนชาติฝรั่งเศส หรือคนในอารักขาของฝรั่งเศสดังกล่าวนี้ จะต้องมีหนังสือ เดินทางซึ่งเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสในประเทศอานาม (เวียดนาม) เป็นผู้ออกให้ หนังสือเดินทางนี้ ต้องเปลี่ยนทุกครั้งในเวลาสัญจรไปมา และต้องเอาออกแสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อเรียกตรวจ

ข้อ 3 คน ชาติฝรั่งเศสหรือคนในอารักขาของฝรั่งเศสดังกล่าวนี้ต้องเสียภาษีอากร ตามกฎหมายสยาม ภาษีนั้นต้องไม่มีอัตราสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บที่กรุงเทพฯ

ข้อ 4 ผลประโยชน์ของชนชาติเรา (ฝรั่งเศส) อยู่ในการดูแลของกงสุลหรือรอง กงสุลที่นครหลวงพระบาง

ข้อ 5 การอุทธรณ์คดีจะกระทำได้ในกรุงเทพฯ

ข้อ 6 ชนชาติเรา (ฝรั่งเศส) มี สิทธิ์ซื้อที่ดินในอาณาจักรหลวงพระบาง มีสิทธิ์สร้าง ถิ่นฐานและสิ่งปลูกสร้างอยู่ในอาณาจักรนี้ โดยที่เขาเหล่านั้นต้องเสียภาษีที่ดินและ ทรัพย์สินดั่งเดียวกันกับคนชนชาติสยาม

เมื่อได้ทำหนังสือสัญญาฉบับนี้แล้ว ฝรั่งเศสก็แต่งตั้ง ม. . ปาวี (A. Pavie) เป็นรองกงสุลไปประจำที่หลวงพระบางในต้นปี 1887 (2430) ต่อมาวันที่ 8 มิถุนายน ปีเดียว กัน ฝรั่งเศสได้เจรจากับสยามในเรื่องเขตแดนทางภาคตะวันออกของอาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งเวลานั้นกองทัพสยามอันมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นแม่ทัพ ได้ไปตั้งอยู่ที่เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เพื่อทำการปราบศึกฮ่อ

นายทหารสยามกับลูกน้องที่ไป ปราบโจรฮ่อสมัยสยามปกครองลาว รูปถ่ายปี ค..1891 (..2434)

ฝรั่งเศสได้ถามเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศของสยามว่า

ดินแดนส่วนนี้ พร้อมทั้งหัวพันทั้งห้าทั้งหก และแขวง 12 จุไทเป็นของเวียดนาม ถ้าสยามถือว่าเป็นของตน สยามมีแผนที่อันใดที่แสดงให้รู้ว่าดินแดนส่วนนี้เป็นของสยาม

แผนที่สังเขประยะทางมณฑลอุดร ร้อยเอ็ด อุบล ปี พ..2469

ราชการสงครามลาวสมัยพระจ้ากรุงธนบุรี(ก็อปมาให้อ่าน)

ราชการสงครามลาวสมัยพระจ้ากรุงธนบุรี
Posted by สมคิด_สิงสง , ผู้อ่าน : 104 , 08:29:36 น.
พิมพ์หน้านี้


7. ราชการสงครามลาวสมัยพระจ้ากรุงธนบุรี

ถ้าจะพูดในเรื่องสายสัมพันธ์ของคนสองฝั่งแม่น้ำโขง ที่ใกล้ชิดแทบจะแยกกัน ไม่ออกเห็นจะเป็นลาวกับไทยนี่แหละ ไม่ว่าจะในยุคสมัยใด อย่างเช่นในยุคสมัยที่ไทย สยาม ปกครองแผ่นดินลาวในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ลาวเวลานั้นแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร คืออาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก

มหาสิลา วีระวงส์ บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติลาวตั้งแต่โบราณฯ โดยเริ่มจาก เรื่องราวของอาณาจักรเวียงจันทน์ว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าสุริยวงสาธรรมิกราชสวรรคตแล้ว ไม่มีราชโอรสจะสืบแทนเมือง มีแต่พระราชนัดดา 2 องค์น้อยๆ คือเจ้ากิ่งกีสกุมาร และเจ้า อินทะโสม เวลานั้นพระยาเมืองจันซึ่งเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ได้ชิงเอาราชสมบัติขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินในปี ..1690 (..2233) พระยาเมืองจันจะรับเอาเจ้านางสุมังคลา พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าสุริยวงสาธรรมิกราชเป็นภริยาของตน เจ้านางสุมังคลานั้นเป็นแม่หม้าย มีราชบุตรอยู่องค์หนึ่ง ชื่อว่า เจ้าองค์หล่อ และเวลานั้นก็กำลังทรงครรภ์อยู่อีก เหตุ นั้นนางจึงไม่ยอมเป็นภริยาของพระยาเมืองจัน

พระยาเมืองจันมีความเคียดแค้นจึงคิดกำจัดเจ้าองค์หล่อและเจ้านางสุมังคลา เสนาอำมาตย์หมู่หนึ่งที่เป็นฝ่ายของเจ้าองค์หล่อจึงลักเอาเจ้าองค์หล่อ หนีไปอยู่เมืองภูชุม (เมืองพานพูชมอยู่ในเขต .บ้านผือ .อุดรธานี) ส่วนเจ้านางสุมังคลาได้หนีไปพึ่งพระครู ยอดแก้ววัดโพนสะเม็ก ในเดือน 3 แรม 6 ค่ำ ปีนั้นเอง..”

พระครูยอดแก้วเป็นผู้ที่มีคนเคารพนับถือมาก พระยาเมืองจันจึงคิดจะกำจัดให้ สิ้นเสี้ยนหนาม แต่พระครูรู้ตัวก่อน จึงพาญาติโยมกว่าสามพันคน พร้อมด้วยเจ้านางสุมังคลา ล่องลงไปตามลำน้ำโขง ถึงบ้านงิ้วพันลำสมสนุกก็พาญาติโยมหยุดพักที่นั่น ส่วน เจ้านางสุมังคลาไปหลบซ่อนอยู่ที่ภูสะง้อหอคำ และประสูตรพระโอรสทรงพระนามว่าเจ้า หน่อกษัตริย์

สถานการณ์ในเวียงจันทน์ หลังพระยาเมืองจันครองราชย์ได้ 6 เดือน ก็ถูกพรรค พวกเจ้าองค์หล่อยกทัพมาตี และสังหารพระยาเมืองจัน ยกเจ้าองค์หล่อขึ้นเป็นกษัตริย์ หลังจากนั้นมีการยึดอำนาจและฆ่าฟันกันในราชสำนักเวียงจันทน์ โดยพระเจ้าองค์หล่อ หลังจากครองราชย์ได้ 4 ปีก็ถูกเจ้านันทะราชยึดอำนาจและประหารชีวิต ต่อมาพระไชองค์เว้ (โอรสเจ้าชมพู) ที่อยู่เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ก็นำกำลังเข้ายึดเวียงจันทน์ สังหารเจ้านันทะราช และขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าพระไชยเชษฐาธิราชที่ 2

จนถึงยุคสมัยพระเจ้าองค์บุญ โอรสพระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ซึ่งเจ้าพระวอระพิตา เมืองหนองบัวลุ่มภูสนับสนุนจนได้ขึ้นครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าสิริบุญสาร (พระมหาบุญเชษฐาธิราช) ซึ่งมีเหตุวุ่นวายหลายครั้งหลายหน จนต้อง เสียเอกราชให้กับพระเจ้ากรุงธนบุรีดังที่กล่าวมาแล้ว

เรื่องราวในรัชสมัยพระเจ้าสิริบุญสารแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์นี้ มหาสิลา วีระวงส์ ก็ยอมรับว่ามีความสับสนในรายละเอียด แต่เมื่อดูประวัติศาสตร์ลาวแต่ โบราณฯ ก็พอจับความได้ว่า...

ต้นเหตุที่พระเจ้าตากสิน พระเจ้าแผ่นดินสยามที่กรุงธนบุรีได้ให้พระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพมาตีพระนครเวียงจันทน์ในปี ..1778 (..2321) นั้น ก็เนื่องจากว่า พระเจ้าสิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์ไม่ได้ปลงใจร่วมมือกับไทยไปปราบพม่า ทั้งเจ้าสุริยวงศ์แห่งหลวงพระบางก็ฟ้องต่อไทยว่าพระเจ้าสิริบุญสารเป็นใจกับพม่าด้วย ดั่งนั้นพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรีจึงมีความเคียดแค้นพระเจ้าสิริบุญสารเป็นอันมาก

พอได้โอกาสที่ท้าวก่ำเข้าไปทูลเหตุการณ์ว่าพระเจ้าสิริบุญสารให้กองทัพลงไปทำร้ายบิดาของตนจนถึงแก่ความตาย และบิดาของตน (คือพระวอระปิตา) ได้ขอเข้าไปอยู่ใต้ร่มเงาของพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินจึงแต่งให้พระยามหากษัตริย์ศึก (ภายหลังมาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์ที่ 1 ของราชวงศ์จักรีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน) เป็นแม่ทัพใหญ่ยกพลมาทางบก สมทบกับกำลังพลหัวเมืองฝ่ายตะวันออก มีพล 20,000 คนเศษ และแต่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (น้องชายพระยามหากษัตริย์ศึก) ยกทัพ เรือมาทางเขมร เกณฑ์พลเขมรได้ 10,000 คน ต่อเรือรบยกพลขึ้นมาตามรูแม่น้ำโขงใน ปี ..1778 (..2321) ส่วนกองทัพของพระยามหากษัตริย์ศึกยกมาทางนครราชสีมา ผ่านมาทางเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ มาสมทบกับกองทัพเรือที่เมืองจำปาสัก กองทัพไทยทั้งสองก็เข้ายึดเอาเมืองจำปาสักได้อย่างง่ายดาย เจ้าไชยกุมารเจ้านครจำปาสักไม่ต่อสู้ ได้หนีไปซ่อนอยู่ดอนไชย แม่ทัพไทยให้ทหารไปจับมา เจ้าไชยกุมารก็ยอมเป็นเมืองขึ้น ของไทยแต่นั้นมา

ฝ่ายพระยาสุโพแม่ทัพของฝ่ายเวียงจันทน์ที่ลงไปกำจัดพระวอระปิตาซึ่งตั้งอยู่ บ้านดอนมดแดง แขวงจำปาสักนั้น ครั้นได้ทราบว่ากองทัพไทยยกมาเป็นอันมากเห็นจะสู้ไม่ได้ จึงถอยทัพกลับคืนเวียงจันทน์ กราบทูลพระเจ้าสิริบุญสารให้ทราบทุกประการ พระเจ้าสิริบุญสารจึงจัดแจงป้องกันพระนคร และจัดกองทัพออกไปตั้งรับกองทัพไทย อยู่เมืองพันพร้าว เมืองพะโค เวียงคุก เมืองหนองคาย จนถึงเมืองนครพนม

กองทัพไทยเข้าตีเมืองนครพนมแตก พระบรมราชา (กู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม ยกครอบครัวไปตั้งค่ายอยู่บ้านดอนหมู ได้ 5 คืนก็เลยถึงแก่กรรมที่นั่น แล้วกองทัพไทยก็ ยกพลขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย เข้าตีเอาเมืองหนองคายได้ เมื่อได้เมืองหนองคายแล้วก็ยกพลมาตั้งล้อมเมืองพะโคและเวียงคุกไว้ พวกชาวเมืองพะโคและเวียงคุกได้ต่อสู้และป้องกันเมืองไว้อย่างแข็งแรง กองทัพไทยเข้าตีเอาเมืองไม่ได้ แม่ทัพไทยจึงทำกลอุบายให้ทหารจับเอาราษฎรเมืองหนองคายเป็นอันมากมาตัดคอเอาแต่หัวใส่เรือไปเต็ม แล้วให้แม่หญิงเมืองหนองคายพายขึ้นมาร้องขายหัวคนอยู่ตามเลียบท่าเมืองพะโคและเวียงคุก พวกชาว เมืองเห็นดั่งนั้นก็มีใจสั่นสะท้านหวาดกลัวเป็นอันมาก กองทัพไทยจึงเข้าตีเอาเมืองพะโค และเวียงคุกได้ แล้วก็เลยขึ้นมาตั้งล้อมเมืองพันพร้าวไว้ กองทหารเมืองพันพร้าวได้ทำการ ต่อสู้อย่างแข็งแรง กองทัพไทยไม่สามารถตีเอาเมืองได้ เป็นแต่ตั้งล้อมไว้จนถึงปี ..1779

เวลานั้น ฝ่ายเจ้าสุริยวงศ์แห่งนครหลวงพระบาง ได้ทราบว่ากองทัพไทยขึ้นมาตี เวียงจันทน์ก็ดีใจ เพราะเจ้าสุริยวงศ์มีความเคียดแค้นให้พระเจ้าสิริบุญสารว่านำเอาพม่ามาตีนครหลวงพระบาง เจ้าสุริยวงศ์จึงมีหนังสือไปบอกพระเจ้าแผ่นดินไทย ขันอาสาเข้า ตีเวียงจันทน์ทางด้านเหนือ แล้วพระเจ้าสุริยวงศ์ก็พาเอาทหาร 3,000 คน ลงมา ตั้งล้อมเมืองเวียงจันทน์ไว้ทางด้านหลัง พระเจ้าสิริบุญสารเห็นศึกขนาบข้างทางด้านหน้า และหลังเห็นเหลือกำลัง จึงให้ทิ้งเมืองพันพร้าว ข้ามมารวมกันอยู่เวียงจันทน์ กองทัพไทย จึงเข้าเมืองพันพร้าวได้ แล้วยกพลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งค่ายอยู่ทางด้านตะวันออกเวียงจันทน์ พระเจ้าสิริบุญสารจึงแต่งให้พระนันทะเสนราชโอรสเป็นแม่ทัพ คุมทหารออกไปตีกองทัพไทย เจ้านันทะเสนขี่ช้างพลายคำสูงหกศอกสามนิ้วออกรบ ตั้งแต่รบกันมา 4 เดือนเศษกองทัพไทยก็ยังไม่สามารถเข้าตีเอาเมืองได้ แต่พระเจ้าสิริบุญสารเห็นว่าจะสู้ศัตรูต่อไปไม่ไหว จึงพาเอาเจ้าอิน เจ้าพรมราชโอรสและคนสนิทลงเรือล่องหนีไปเมืองคำเกิดในเวลากลางคืน ฝ่ายเจ้านันทะเสนได้ทราบข่าวว่าพระราชบิดาหนีไปแล้วก็เสียพระทัย จึงตกลงเปิดประตูเมืองยอมให้กองทัพไทยเข้าเมืองได้ ในวันจันทร์ เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีกุน ..1141 (..1779) ..2322 เมื่อกองทัพไทยเข้าเมืองได้แล้วก็จับเอาเจ้านันทะเสน เจ้าอุปราชวังหน้า และนางแก้วยอดฟ้ากัลยานีสรกษัตริย์ พระราชธิดาของพระเจ้าสิริบุญสาร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ สาวสนมนอกในไว้หมดแล้ว ก็กวาดเก็บเอาทรัพย์สินข้าวของทั้งมวลอันมีค่าในพระคลังหลวง และของประชาราษฎรทั้งหลาย พร้อมด้วยพระแก้วมรกตและพระบางอันมีค่าของมิ่งเมืองลาว กวาดเอาครอบครัวคนลาวชาวเวียงจันทน์ ข้ามไปไว้เมืองพันพร้าว แล้วแม่ทัพไทยจึงให้สร้างหอพระแก้วขึ้นไว้ที่เมืองพันพร้าวเป็นการชั่วคราว และพร้อมกับการตีเวียงจันทน์ได้นี้ แม่ทัพไทยก็บังคับให้เจ้าสุริยวงศ์ เจ้านครหลวงพระบางยอมอ่อนน้อมต่อไทย และเป็น เมืองขึ้นของไทยดั่งเดียวกับเวียงจันทน์

ถึงเดือนยี่ แม่ทัพไทยจึงตั้งพระยาสุโพอยู่รักษาเมือง แล้วไทยก็กวาดเอาครอบ ครัวลาวเวียงจันทน์ พร้อมด้วยพระราชบุตร พระราชธิดา วงศานุวงศ์ ขุนนาง ท้าวพระยา พ่อค้าเศรษฐีคหบดีชาวเวียงจันทน์ ทั้งพระแก้วพระบางลงไปเมืองบางกอก เดือนยี่แรมลงไปถึงเมืองสระบุรี แม่ทัพไทยจึงให้ครอบครัวลาวหลายหมื่นครอบครัวตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นั่น เอาลงไปบางกอกแต่ครอบครัวเชื้อแนวกษัตริย์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น....”

แผนที่ลาวสมัยแตกเป็น 3 อาณาจักร ภายใต้การปกครองของสยาม

หนังสือประวัติศาสตร์ลาวแต่โบราณฯ เรียกกองทัพกรุงธนบุรีในเวลานั้นว่ากองทัพไทบางทีก็ใช้ไทย์คงจะให้เข้าใจได้ง่ายในยุคสมัยปัจจุบัน เพราะสมัยก่อนนั้นเรายังไม่ใช้คำว่าไทยเป็นชื่อรัฐชาติของเรา

ผมคัดลอกมาไว้ให้เห็นรายละเอียดของเหตุการณ์ตามที่มหาสิลา วีระวงส์ บันทึก ไว้ รวมทั้งน้ำเสียงที่อยากสั่งสอนคนลาวให้สำเหนียกในประวัติศาสตร์ที่ว่าทำไมลาวจึงตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม

ราชอาณาจักรลาวทั้งสาม คืออาณาจักรนครจำปาสักของเจ้าไชยกุมาร อาณาจักร เวียงจันทน์ของเจ้าสิริบุญสาร และอาณาจักรหลวงพระบางของเจ้าสุริยวงศ์ จึงได้เสีย เอกราชให้แก่ไทย (กรุงธนบุรี-ผู้เขียน) ลงพร้อมกันในปี ..1779 (..2322) เพราะ ความไม่ถูกต้องปรองดองกัน อิจฉาบังเบียดเคียดแค้นให้กันของเจ้านายลาว ด้วยประการดั่งนี้ ( มหาสิลา วีระวงส์ หนังสือประวัติศาสตร์ลาวแต่โบราณถึง 1946 หน้า 114-116)

ภายหลังจากราชการสงครามคราวนั้น อันทำให้อาณาจักรลาวทั้ง 3 อาณาจักร ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามถึง 114 ปี ยังมีเกล็ดประวัติศาสตร์ที่ทางลาวบันทึกไว้ และน่าสนใจอยู่หลายเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องราวสายสัมพันธ์โขงสองฝั่งที่ไม่จำเพาะแต่ลาว-ไทย แต่เกี่ยวพันไปถึงชาติประเทศอื่นๆ ในลุ่มแม่น้ำโขงทั้งมวล

ผมจะนำมาเล่าในโอกาสอันควร...

แผนที่สยามในสมัยรัชกาลที่ 1 (1782-1809) ระหว่าง พ..2325-2352 ในหนังสือ Atlas Encyclopediqu

ต่อเรื่อง

http://www.oknation.net/blog/kongsongfang/2008/05/25/entry-1

10 June 2008

ແມ່ນຳ້ຂອງ(ເຂົາຂຽນ-ເຮົາອ່ານ)

ອ່ານທຸກຢ່າງ ແຕ່ເລືອກເອົາບາງຢ່າງ ເປັນຫົ​ວໃຈນັກປາດ
ເປັນບົດຂຽນຂອງນັກຂຽນອີສານ ສ່ວນໃຫນ່ຈະເປັນເລື່ອງຂອງລາວ-ອີສານ ເຊິ່ງເນັນເຖິງແມ່ນຳ້ "ຂອງ" ແລະສາຂາຂອງມັນ ໜ້າອ່ານຫິ້ຼນ
http://www.oknation.net/blog/somkhitsin/2008/03/28/entry-1
ອ່ານຫຼິ້ນຂອງນັກຂຽນອີສານ(ໝ​ວດໝູ່ໃຫຍ່) ເລືອກອ່ານຕາມໃຈ
http://www.oknation.net/blog/search_blog.php?keyword=%26%233749%3B%26%233762%3B%26%233751%3B&cate_id=0
ເລືອກອ່ານ
http://www.oknation.net/blog/kongsongfang/2008/05/21/entry-3

พุทธทำนายในอุรังคะทาดนิทาน

ชาวจีนสิบสองปันนาเรียกแม่น้ำโขงว่า “หลันชางเจียง” หรือแม่น้ำล้านช้าง มีนัยหมายถึงแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก ทว่าใน “นิทานอุรังคธาต” เรียกแม่น้ำนี้ว่า “ทะนะนะทีเทวา” อันหมายถึงแม่น้ำแห่งทรัพย์สินเงินทองอันเทวดาเสกสรรให้

ทรัพย์สมบัติดังกล่าว คำลาวเรียก “ของ” และเรียกทะนะนะทีเทวาว่า “แม่น้ำของ” และเพี้ยนมาเป็น “แม่น้ำโขง” ในสำเนียงคนไทยกรุงเทพฯ และ Mekong River ในภาษาอังกฤษ

หลันชางเจียง(แม่น้ำล้านช้าง) หรือแม่น้ำโขงตอนบน ภาพ โดยประสาท ตงศิริ ถ่ายจาก ระเบียงท้ายเรือเร็วปรับอากาศ “เทียนต๋า2” ซึ่งแล่นตามลำ แม่น้ำโขง จากท่าเรือเมือง เชียงรุ้งถึงท่าเรือเชียงแสน ของไทย

(ซ้าย) พระ ธาตุพนมองค์เดิม (นครพนม : ไทย) ประดิษฐานพระอุรังธาตุ (ธาตุทรวงอก) ที่ดอยกัปปนคีรี ภูกำพร้า (ขวา) พระธาตุหลวง (เวียงจันทน์ : สปป.ลาว) ดอนคอนพะเนา ภูเขาหลวง หนองคันแทเสื้อน้ำ

ผม จะลองสังเคราะห์กำเนิดภูมิประเทศ แม่น้ำลำคลอง ภูเขาเลากา สภาพบ้านเมืองและการลงหลักปักฐานลัทธิความเชื่อในพระพุทธศาสนา จากนิทานอุรังคธาตุ วรรณกรรมโบราณแห่งลุ่มแม่น้ำโขง พอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้

แม่น้ำอู

แม่น้ำปิง : พินทะโยวัตตีนาค ขุดเป็นแม่น้ำไปเมืองเชียงใหม่ ชื่อแม่น้ำพิน หรือ พิงค์ และใส่ชื่อเมืองนั้นว่า โยนาควัตตีนคร หรือโยนกนาควัตตี หรือพิงคนครเชียงใหม่ ในเวลาต่อมา

“...ส่วน ว่าน้ำหนองแสนั้น สัตว์ทั้งหลาย มีแข่ เหี่ย เต่า และแลนก็ล้มตายเป็นอันมาก พวกผีทั้งหลายเห็นก็พากันไปเอามาซุมกันกิน เวลานั้นนาคทั้งหลาย คือสุวันนะนาค กุทโธปาปนาค ปัพพารนาค สุกขหัตถีนาค สีสัตตนาค และถหัตถีนาค เป็นต้น ตลอดนาคทั้งหลายผู้เป็นบริวารที่อยู่ในหนองแสบ่สามารถอาศัยอยู่ได้

แม่น้ำงึม : “...แต่ นั้นมานาคทั้งหลายมักใคร่อยู่บ่อนใดก็อยู่บ่ได้แล เงือก งูทั้ง หลายอันเป็นบริวารก็ไปนำทุกแห่ง ส่วนปัพพาสนาค (ปัพพารนาค) ก็ควัดไปอาศัยอยู่ภูเขาหลวง พญานาค พญางู โตบ่อยากอยู่ดอมนาคทั้งหลาย จึงควัดออกเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง เอิ้นว่าแม่น้ำเงือกงู ภายลุนมาจึงเอิ้นว่าแม่น้ำงึมเท่าทุกวันนี้แล...”หลี่ผี : “...ส่วนสุกขรนาคและหัตถีนาคอาศัยอยู่เวินสุก ส่วนว่าทะนะมุนละนาค ผู้อาศัยอยู่เมืองศรีโคตบองก็ควัดฮ่องจากนั้นลงไปฮอดเมืองอินทะปัตถะนคร จนฮอดแม่น้ำสมุทร ฮ่องนี้เอิ้นว่าน้ำหลี่ผีนั้นแล...”แม่น้ำมูน : “แม่ น้ำที่เป็นบ่อนอยู่ของทะนะมุนละนาคนั้นก็ไหลท่วมเป็นแกว่ง ดังนั้นทะนะมุนละนาคจึงควัดให้เป็นฮ่องฮอดเมืองกุลุนทนคร ฮ่องน้ำนี้มีชื่อว่า มุนละนที ตามชื่อพญานาคโตนั้นแล”

แม่น้ำซี : “ส่วน ซีวายนาค ก็ควัดแต่แม่น้ำมูนจนฮอดเมืองพญาสุรอุทกะผู้ปกครองหนองหานหลวง พร้อมทั้งเมืองใหญ่น้อยเขตนครนั้น และตลอดฮอดเมืองหนองหานน้อย ตราบเท่าฮอดเมืองกุลุนทนคร แต่นั้นมาน้ำนั้นจึงมีชื่อว่าซีวายนทีตามชื่อนาคโตนั้น...”

เรื่องราวที่หยิบยกมานี้เป็นส่วนหนึ่งในบั้นที่ 1 ของนิทานอุรังคธาตุ เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ลุ่มแม่น้ำโขงในวรรณกรรมโบราณ

ทีนี้ลองมาดูเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขงจากวรรณกรรมโบราณเรื่องนี้ในบั้นที่ 2 “บั้นอุรังคะทาดนิทาน”

“...เมื่อ พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และได้เสด็จประทับอยู่ในวัดเชตวัน เมื่อ เวลาใกล้รุ่ง พระอานนท์เถระเจ้าผู้เป็นอุปัฏฐากได้จัดแจงไม้สีฟันและน้ำส่วยหน้า (น้ำล้าง หน้า) ถวายแก่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชำระเรียบร้อยแล้ว ทรงหลิง (รำลึก) เห็นพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ที่ผ่านมาในอดีต พระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นยังได้ก่อธาตุไว้ในดอยกัปปันนคีรี (หมายถึงภูกำพร้า) อยู่ใกล้เมืองศรีโคตบอง (หมายถึงเมืองนครพนม) นั้น เมื่อหลิงเห็นอย่างนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงผ้ากำพลสีแดง ซึ่งนางโคตมีได้ถวายเป็นทาน ผ้ากำพลผืนนี้มีประวัติเล่าไว้ว่า นางโคตมีเมื่อจะปลูกฝ้ายนางได้เอาคำ (ทองคำ) มาทำอ่าง (กระถางปลูก) แล้วจึงเอาแก่นจันทน์แดงพร้อมทั้งคันธรสทั้งมวล แล้วเอาคำเป็นฝุ่น (เอาทองคำเป็นปุ๋ย) ใส่ลงในอ่างคำ (กระถางทองคำ) นั้น ครั้นแล้วจึงเอาฝ้ายมาปลูกลงที่นั้น เหตุนั้นดอกฝ้ายจึงแดงดั่งแสงสุริยะกำลังขึ้น (เหนือขอบฟ้า)(แลนเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ชนิดครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่างตะกวด แลนคำคือแลนที่มีเกล็ดทองคำ)

เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงผ้าแล้วจึงทรงบาตรผินหน้าไปทางทิศตะวันออก พระอานนท์เถระเจ้าผู้เป็นปัจฉาสมณะลีลานำทาง (เสด็จตาม)อากาศ และได้เสด็จมาประทับที่ดอนคอนพะเนานั้นก่อน จึงมาประทับที่หนองคันแทเสื้อน้ำ

ขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงหลิงเห็นแลนคำ

บ้าน เมืองจักย้ายที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปมาเป็นหลายชื่อหลายเสียงแล... เหตุว่า พระตถาคตเห็นแลนแลบลิ้นสองแง่ม (แฉก) เป็นนิมิตรแล หากเมื่อใด หากท้าวพญาองค์ เป็นหน่อพุทธังกูรได้มาเสวยราชบ้านเมือง พระพุทธศาสนาของพระตถาคตก็จักรุ่งเรือง เหมือนดังพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่นั้นแล...”

ตัวหนึ่งแลบลิ้นอยู่ที่โพนจิกเวียงงัว ใต้ปากห้วยคุก เมื่อทรงเห็นดังนั้นแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงทำอาการแย้มหัวให้เห็นเป็นนิมิตร พระอานนท์เถระเจ้าเมื่อเห็นดังนั้นจึงทูลถามหาเหตุแย้มหัว พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูราอานนท์ พระตถาคตเห็นแลนคำตัวหนึ่งแลบลิ้นให้เป็นเหตุแล แล้วพระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสไว้ว่า เมืองสุวรรณภูมินั้นเป็นที่อยู่ของนาคทั้งหลาย มีสุวรรณนาคเป็นเค้า (เป็นต้น) พร้อมทั้งผีเสื้อบก (บางสำนวนว่าพร้อมทั้งผีเสื้อบกและผี เสื้อน้ำ...) ทั้งหลายแล ในอนาคตภายหน้า คนทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในเมืองอันนี้ แม้นว่ารู้แตกฉานในธรรมของตถาคตก็ดี จักเลือกหาผู้มีสัจจะซื่อสัตย์สุจริตนั้นยาก แท้แล

ตาม เส้นทางโขงสองฝั่ง เราจะพบ เห็นการทำลายป่าต้นน้ำ เพื่อใช้ ประโยชน์ในการเพาะปลูก และถือ ครองเป็นเจ้าของ พบเห็นทั่วไป เกือบทุกเขตน้ำแดนดินทั้ง 6 ประ เทศ รวมทั้งในจีนตอนใต้

บั้น อุรังคะทาดนิทานนี้ เป็นที่มาของวรรณกรรมพุทธทำนายที่ศิลปินรุ่นครบรอบ 25 พุทธศตวรรษนำมาขยายความในรูปกลอนลำ แพร่หลายขยายตัวตามสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงที่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลักในชีวิต ประจำวัน

เพราะ ว่าน้ำหนองแสขุ่นมัวเป็นตมหมด จึงพากันออกมาอยู่แม่น้ำและบนบก ในที่ต่างๆ กัน พวกผีทั้งหลายรู้ว่าพวกนาคจักมายาด (แย่งชิง) ชิงกินนำ ก็เฮ็ดให้นาคทั้งหลายตาย บางพ่องพญาทั้งหลายก็ตาย ตลอดฮอดเงือกงูก็ตายเช่นเดียวกัน แล้วจึงพากันออกหนีจากแคมหนองแสนั้น นาคและเงือกงูทั้งหลายอยู่ตามน้ำของ (โขง) ก็ยอมมาเป็นบริวารของพญานันทกังฮีสุวันนะนาค และก็พากันไปอาศัยอยู่ภูกู่เวียน ภูนั้นจึงได้ชื่อว่าภูกู่เวียน ส่วนพุทโธปาปนาคควัด (ขุด) แต่ภูกู่เวียนจนเกิดเป็นหนองใหญ่ มีชื่อว่าหนองบัวบานในบัดนี้...”

: ชีวายนาคขุดคลองมาด้วยหน้าอก (อุระ) ของตน จึงได้ชื่อว่าอุรังคะนที คือแม่น้ำอู
อ้างอิง
http://www.oknation.net/blog/kongsongfang/2008/05/23/entry-1

09 June 2008

ບົດທີ ໔: ກຳເນີດຄຳວ່າ “ລາວ”

ຫາກກ່າວເຖິງລາວ ມັກຈະກ່າວເຖິງ ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ ຫາກກ່າວເຖິງລ້ານຊ້າງ ຈະປາສະຈາກລ້ານນາແມ່ນບໍ່ໄດ້ເດັດຂາດ ເພາະທັງສອງອານາຈັກນີ້ “ລ້ວນແຕ່ອ້າງວ່າເປັນ ເຊື້ອຊາດລາວ ທີ່ມີເຄົ້າຕະກູນມາຈາກທີ່ດຽວກັນ” ມີການກ່າວກ່ຽວກັບຄຳວ່າ “ລາວ” ໄວ້ຫຼວງ ຫຼາຍ ແລະມີລັກສະນະທີ່ແຕກຕ່າງກັນຫຼາຍ ຈຶ່ງນຳມາສະເໜີອີກແງ່ມູນໝຶ່ງດັ່ງນີ້:
ຫຼວງວິຈິດທະວາການ ກ່າວໄວ້ໃນພົງສາວະດານຊາດໄທຍ໌ວ່າ ລາວມາຈາກຄຳວ່າ “ລົວະ ຫຼືລະວ້າ” ເຊິ່ງເປັນຊື່ຮຽກຄົນຊາດໜຶ່ງ ທີ່ຕັ້ງຖິ່ນຖານຢູ່ດິນແດນແຖບນີ້ມາກ່ອນ ຕໍ່ມາ ພວກອ້າຍລາວອົບພະຍົບລົງມາປະປົນກັບຄົນພວກນີ້ ກໍຮຽກຄົນພວກນີ້ວ່າ “ລາວ” ໜ້າຈະພ້ຽນ ມາຈາກຄຳວ່າ “ດາວ” ເຊິ່ງໝາຍເຖິງທຽນ, ແຖນ, ໄທ, ໄທ້ ເຖິງແປວ່າຟ້າ ຫຼືຜູ້ສືບເຊື້ອສາຍ ຈາກສະຫວັນ ແຕ່ຈີນເວົ້າສຽງ “ດ” ບໍ່ແຈ້ງກາຍເປັນສຽງ “ລ” ດ້ວຍເຫດນີ້ພວກລາວຈຶ່ງມີລັດທິຜີ ຟ້າມາແຕ່ເດີມ.
ພະຍາອະນຸມານຣາຊະທົນ ໄດ້ກ່າວໄວ້ໃນໜັງສື ເຣື່ອງຂອງຊາດໄທຍ໌ວ່າ ກ່ອນທີ່ຈະໄດ້ ຊື່ວ່າລາວນັ້ນ ມີເລື່ອງກ່າວໄວ້ວ່າ ນານມາແລ້ວມີຍິງຄົນໜຶ່ງຊື່ຊາຍັດ ໄດ້ໄປຫາປາທີ່ແມ່ນຳ້ ໄດ້ ໄປຖືກຕ້ອງໄມ້ເຊິງຈົມຢູ່ ເກີດຄວາມຮູ້ສຶກຢ່າງແປກປາຫຼາດ ລ່ວງມາບໍ່ຊ້ານາງກໍມີຄັນ ຄັນເຖິງ ກຳນົດປະສູດອອກບຸດມາ ໑໐ ຄົນ, ຕໍ່ມາໄມ້ທີ່ຈົມນຳ້ທີ່ນາງຊາຢັດໄປຖືກຕ້ອງຈົນມີທ້ອງໄດ້ກັບ ກາຍເກີດເປັນມັງກອນ ປາກົດຂຶ້ນເໜືອນຳ້ ນາງຊາຍັດໄດ້ຮູ້ສຶກເໝືອນໄດ້ຍິນສຽງມັງກອນຮ້ອງ ຖາມວ່າ “ອອກລູກແລ້ວບໍ່ແມ່ນບ​ໍ ? ເວລານີ້ລູກຢູ່ໃສ ?” ຂະນະນັ້ນບຸດຂອງນາຊາຍັດ ເຫັນມັງ ກອນກໍພາກັນກົວຢ້ານ ຕົກໃຈແລ່ນໜີ ເຫຼືອແຕ່ລູກຄົນຫຼ້າໜີບໍ່ທັນ ຕ້ອງນັ່ງອີງຢູ່ຂ້າງມັງກອນ ມັງກອນຈຶ່ງເລັຍເດັກນັ້ນ ນາງຊາຍັດເຫັນກໍກ່າວເປັນພາສາ ຕາມນິໄສຂອງຊາວປ່າ ເຊິ່ງມີສຽງ ຄ້າຍກາວ່າ “ເກົ໋າຫຼົງ” ໂດຍເກົ໋າແປວ່າອີງ ຫຼົງແປວ່ານັ່ງ ອາໄສນິມິດນີ້ນາງຊາຍັດຊື່ບຸດຄົນຫຼ້າ ວ່າ ເກົ໋າຫຼົງ ການຕໍ່ມາເດັກທັງ ໑໐ ກໍເຕີບໂຕຂຶ້ນ ພີ່ນ້ອງທັງ ໙ ຄົນເຫັນນ້ອງຊາຍຄົນທີ ໑໐ ເຊິງຖືກມັງກອນເລັຍມີສະຕິປັນຍາສະຫຼຽວສະຫຼາດ ກໍພ້ອມໃຈກັນຍົກຍ້ອງຂຶ້ນໃຫ້ເປັນຫົວໜ້າ ຊາຍທັງ ໑໐ ຄົນນີ້ ເຊື່ອວ່າເປັນບັນບູຣຸດຂອງຄົນລາວ ຈຶ່ງຮຽກວ່າພວກອ້າຍລາວ.

ໂດຍ: ພອຄ.ເນືອງພິລັກ ໂຊຕິທອນ