แผนที่โดยชาวยุโรปแผ่นแรกที่เขียนหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยา คือแผนที่ตัวเขียนจากหนังสือรวมแผนที่ คาทาแลน แอทลาส ผลงานโดยอับราอัม นักเขียนแผนที่ชาวยิว เมื่อราวปี 1918 ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาที่ 1 แผนที่ไม่เพียงแสดงเส้นทางสายไหมและคาบสมุทรอินเดียเป็นครั้งแรก แต่ยังเป็นแผนที่เก่าแก่สุดที่ระบุชื่อและตำแหน่งของนครต่างๆ ที่ปรากฏในจดหมายเหตุของนักเดินทางนามอุโฆษ มาร์โค โปโล อาทิ คาตาโย ชื่อโบราณสำหรับประเทศจีน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าจนบัดนี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถระบุชื่อนครโบราณของ อุษาคเนย์ที่ปรากฏในแผนที่ นอกจากทราโปบานา ชื่อเก่าแก่สำหรับสุมาตรา
จากหลักฐานที่ค้นพบ ชื่อเรียกสำหรับกรุงศรีอยุธยาเก่าแก่สุดปรากฏในแผนที่โลกซึ่งเขียนเสร็จ เมื่อปี 2002 โดยฟรา เมาโร นักบวชและนักเขียนแผนที่ชาวเวนิส โดยมีชื่อเรียกกรุงศรีอยุธยาว่าเชอร์โน หรือชิแอร์โน ชื่อเรียกนี้เป็นการออกเสียงตามสำเนียงอิตาลีจากชะหริเนาว์ คำอาหรับหมายถึงเมืองใหม่ ชาวยุโรปเรียกชื่อกรุงศรีอยุธยาตามชาวเปอร์เซีย เนื่องจากในสมัยนั้นภาษาเปอร์เชียเป็นภาษาสากลสำหรับการสื่อสารตามเมืองใน แถบอ่าวเบงกอล ต่อมาชื่อเรียกดังกล่าวได้ปรากฏในจดหมายเหตุของนักเดินทางชาวโปรตุเกส อาทิ วาเธมา และปินตู โดยเพี้ยนเสียงเป็น ชาร์เนา และในจดหมายเหตุดา กามา โดยเพี้ยนเสียงเป็น ชาร์เนาซ์ เหตุที่กรุงศรีอยุธยาถูกขานนามว่าเมืองใหม่ เพราะก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีกลุ่มเมืองเก่าที่สำคัญ 2 กลุ่มเมือง คือละโว้ – อโยธยา และสุพรรณภูมิ แต่นักวิชาการบางท่านเสนอว่าชะหริเนาว์ น่าจะหมายถึง “นครแห่งเรือ”
แผน ที่โดยฟรา เมาโร มีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย แผนที่ไม่เพียงระบุชื่อและเป็นภาพเขียนเก่าแก่สุดของชาวยุโรปสำหรับกรุงศรี อยุธยา บนแผนที่ยังปรากฏจารึกเก่าแก่สุดชาวยุโรปเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา (และสยามประเทศ) จารึกนี้มีความยาวทั้งสิ้น 10 บรรทัด ถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า
นครชิแอร์โนแห่งนี้ใช้ระยะเวลาเดินทางทางบกเป็นเวลาราวหกถึงเจ็ด วัน บนฟากหนึ่งของแม่น้ำชิแอร์โนหรือคงคา จะพบผู้คนอาศัยอยู่เรียงรายตลอดระยะเวลาเดินทางราวสามสิบวัน ส่วนอีกฟากของแม่น้ำก็เต็มไปด้วยบ้านเรือน ปราสาทและพระราชวังที่วิจิตรตระการตา”
No comments:
Post a Comment